All posts by nana

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ กันจิต

ในความตั้งใจจริงและความตั้งมั่นของผู้สร้าง ที่ต้องการจะสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ขึ้นมาหนึ่งรุ่น ให้ถูกต้องตามตำราการสร้างพระกริ่งทุกประการ

ในการนี้ผู้สร้างได้นำทองคำหนัก 12 บาท นำไปให้โรงหลอมรีดออกมาเป็นผ่นยาว จากนั้นได้นำไปตัดมีขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ได้ 32 แผ่น และนำไปให้ครูบาอาจารย์ได้เมตตาเขียนอักขระยันต์ลงบนแผ่นทองคำทั้งหมด

รายนามคณาจารย์ที่ได้เมตตาเขียนยันต์บนแผ่นทองคำ

  1. หลวงปู่บุญหนา วัดป่าโสตถิผล
  2. หลวงปู่หา สุภโร วัดสักวัณ
  3. หลวงปู่สมหมาย วัดภูถ้ำพระ
  4. หลวงปู่จื่อ วัดเขาตาเงาะอุดมสมพร
  5. พระอาจารย์เอราวัณ พุทธอุทยานธรรมโกศล
  6. หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดหงษ์รัตนาราม
  7. หลวงปู่เทียบ วัดพระงาม
  8. พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขันต์
  9. พระอาจารย์สุวิทย์ วัดห้วยขวาง
  10. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
  11. หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้
  12. หลวงพ่อเผย วัดบึง
  13. หลวงพ่อสายทอง เดชธัมโม
  14. หลวงพ่อขันตี วัดป่าม่วงไข่
  15. หลวงพ่อทอง วัดพระพุทธบาทเขายายหอม
  16. หลวงพ่อสิริ วัดตาล

หัวใจในการสร้างพระกริ่งนั้นแผ่นยันต์จึงมีความสำคัญมาก พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์กันจิต ได้ใส่แผ่นยันต์ครบตามตำราทุกประการ โดยได้รับการเมตตาเขียนยันต์จากคณาจารย์ตามรายนามข้างบน ยันต์บางชุดแทบจะสูญหายไปแล้วจะมีครูอาจารย์ที่เขียนได้ในปัจจุบันนั้นเหลือน้อยเต็มที ในการเขียนยันต์แต่ละชุดที่จะนำมาใส่ในการหลอมพระกริ่งให้ถูกต้องตามตำราการสร้างนั้นไม่ง่ายเลย มหายันต์หรือยันต์บังคับ ครูอาจารย์ที่เขียนยันต์จะต้องบริกรรมคาถากำกับไปด้วย

แผ่นยันต์ที่ได้รับการเมตตา

  1. ยันต์ร้อยแปดนะปถมัง 14
  2. ยันต์นะปถมัง 14
  3. ยันต์ดวงประสูติและตรัสรู้ล้อมด้วยคาถารัตนมาลา
  4. ยันต์จักรพรรดิ์ตราธิราช
  5. ยันต์มงกุฏพระพุทธเจ้า
  6. ยันต์ไตรสรณคมณ์
  7. ยันต์หัวใจ 108
  8. ยันต์พระพุทธเจ้า 16 ยอด
  9. ยันต์ภควัมบดี
  10. ยันต์พระธรรม 8 หมื่น 4 พัน พระธรรมขันต์
  11. ยันต์โสฬสมงคล
  12. ยันต์ฝนแสนห่า
  13. ยันต์บารมี 30 ทัศน์
  14. ยันต์พระพุทธเจ้าเข้านิโรธสมาบัติ
  15. ยันต์ปฐมอักขระ
  16. ยันต์พระพุทธเจ้า 5 พระองค์

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ กันจิต ใช้กรรมวิธีการ หล่อโบราณด้วยดินไทย(ดินขี้วัว) ทุกเนื้อ โดยได้เทหล่อในวันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2557 เวลา 09.32 ซึ่งเป็นฤกษ์ที่เป็นมงคลที่สุด เป็นราชาฤกษ์ แล้วยังได้เพิ่มสุดยอดชนวนเข้าไปอีกเรียกว่า เอาให้แน่นที่สุด ได้แก่

  1. ตะกรุดลูกอมหัวใจโลกธาตุทองคำ
  2. ตะกรุดมหาบุรุษแปดจำพวกทองคำ พระอาจารย์พรต วัดโคกกฐิน
  3. ตระกรุดทองคำจารมือ หลวงตาพวง
  4. ชนวนทองคำเหรียญหล่อแสงจันทร์ หลวงปู่แสง จันดะโชโต

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ กันจิต หลวงปู่ได้เมตตาอธิษฐานจิตให้ถึง 3 วาระ

วาระที่ 1 วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม 2557
วาระที่ 2 วันศุกร์ที่ 28 พฤษจิกายน 2557
วาระที่ 3 วันอังคารที่ 20 มกราคม 2558

จำนวนการสร้าง

  1. พระกริ่งเนื้อทองคำ 2 องค์
  2. พระกริ่งเนื้อนวะก้นทองคำ 12 องค์
  3. พระชัยวัฒน์เนื้อทองคำ 4 องค์
  4. พระชัยวัฒน์เนื้อนวะ 8 องค์

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ กันจิต ได้นำเอาแต่แผ่นยันต์และชนวนเท่านั้นนำไปเทหล่อ เรียกว่า เอาให้แน่นที่สุด จึงได้จำนวนไม่มาก ทั้งพระกริ่งและพระชัยวัฒน์รวมกันได้เพียง 26 องค์เท่านั้น จึงไม่มีการตอกหมายเลข ตอกเฉพาะโค๊ตเท่านั้น และโค๊ตที่ตอกจะมี 2 ตัว คือตัว “กัน” และตัว “จิต” ซึ่งเป็นยันต์ตัวธรรมขององค์หลวงปู่แสง

เหรียญหล่อจันดะโชโต


เหรียญหล่อจันดะโชโต ได้รับการอธิษฐานจิตในวันเสาร์ที่ 19 เมษายน 2557 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ 5 นับเป็นวันดีวันมงคล เหมาะกับการอธิฐานจิตวัตถุมงคลต่างๆ

ตำราในสมัยโบราณได้กล่าวไว้ว่า ถ้าวัตถุมงคลใด ได้รับการอธิษฐานจิตในฤกษ์เสาร์ 5 นั้น จะยิ่งทำให้พุทธคุณนั้นเพิ่มความเข้มขลังเข้าไปอีก

และเหรียญหล่อจันดะโชโตนี้ ยังเป็นเหรียญหล่อรุ่นแรกในฉายา “จันดะโชโต” ของหลวงปู่อีกด้วย

จำนวนการจัดสร้าง

  1. ชุดทองคำ 6 ชุด
  2. เนื้อเงิน 23 เหรียญ
  3. เนื้อนวะ 32 เหรียญ
  4. เนื้ออัลปาก้า 366 เหรียญ
  5. เหรียญต้นแบบเนื้อเงิน 1 เหรียญ

เหรียญเมตตา


หลวงปู่แสง ท่านได้มีดำริให้ไปจัดสร้างเหรียญมาอีกหนึ่งรุ่น โดยหลวงปู่ท่านได้กำชับว่า ให้มีขนาดเท่านิ้วโป้งก็พอ ( หลวงปู่ท่านได้ชูนิ้วโป้ง ) ไม่ต้องทำใหญ่ มันเปลือง

เมื่อแบบกระดาษเสร็จแล้ว ได้นำถวายให้หลวงปู่ท่านพิจารณา เมื่อหลวงปู่ท่าน
เห็นควรว่าดีแล้ว จึงได้นำไปให้ช่างได้ดำเนินการในการแกะบล๊อกต่อไป

เมื่อเหรียญได้เสร็จเป็นที่เรียบร้อย ได้นำให้หลวงปู่ท่านพิจารณาเหรียญจริง
ในวันที่ 6 ม.ค. 2558 แล้วหลวงปู่ท่านได้เมตตาแจกให้กับ ครูบาที่อยู่ในวัดและ
ญาติโยมที่มากราบหลวงปู่ในวันนั้น

เหรียญที่หลวงปู่ท่านได้แจกในวันนั้น ยังไม่มีการตอกโค๊ตใดๆเลย นับได้ว่าเป็น
เหรียญปฐมฤกษ์ จำนวนเหรียญที่ได้ถวายในวันนั้น จำนวน 100 เหรียญ

วันอธิษฐานจิต
ในบ่ายวันเสาร์ที่ 10 ม.ค. 2558 ได้นำเหรียญเมตตามาถวาย หลวงปู่ท่านได้เมตตาอธิษฐานจิต พร้อมทั้งแจกญาติโยมที่มาในวันนั้น

จำนวนในการจัดสร้าง

  1. ชุดทองคำ 17 ชุด ( ทองคำ นาก เงินหน้ากากทองคำ )
  2. เนื้อเงิน 65 เหรียญ
  3. เนื้อนวะ 83 เหรียญ
  4. หน้าทองคำขอบเงิน 14 เหรียญ ( ตอก 999 ทุกเหรียญ )
  5. หน้าทองแดงขอบทองเหลือง 209 เหรียญ
  6. เนื้อทองแดง 1590 เหรียญ
  7. เนื้อทองเหลือง 15500 เหรียญ ถวายหลวงปู่ ( ไม่ตอกโค๊ต 100 เหรียญ )

*** หมายเหตุ ***

  1. จะมีเหรียญที่ไม่ตอกโค๊ตใดเลย 100 เหรียญ เป็นเหรียญ เนื้อทองเหลือง
    เท่านั้น
    ด้านหลังจะเป็นบล๊อกวงเดือนทั้งหมด
  2. เหรียญที่เป็นบล๊อกวงเดือน จะมีเฉพาะในเนื้อทองเหลืองเท่านั้น จำนวน
    800 เหรียญ เท่ากับว่า เหรียญบล๊อกวงเดือนนี้ จะเป็นเหรียญที่ไม่ตอก
    โค๊ต 100 เหรียญ และเหรียญตอกโค๊ต 700 เหรียญ
  3. ลักษณะของเหรียญบล๊อกวงเดือน
    ให้ดูที่ด้านหลังเหรียญ ที่พื้นของเหรียญจะมีเหมือนจุดกลมๆ ไม่นูนมาก
    มีเส้นวิ่งล้อมรอบอยู่ใต้พื้นยันต์เป็นวงกลม เอียงเหรียญแล้วดูด้วยแว่น
    ขยายจะมองเห็นได้ชัดเจน

เหรียญภาวนา

เหรียญภาวนา ได้รับการอธิษฐานจิตเมื่อวันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2557 (ตรงกับวันตรุษจีน) เวลา 06.40 น. หลวงปู่ท่านมีดำริ ให้นำเหรียญมาปลุกเสกก่อนจังหันเช้า

เหรียญภาวนานี้ จัดสร้างถวายโดย คุณปริษา นิภาพงศกุล (ศิษย์กทม.) เหรียญภาวนานี้ ได้รับการขออนุญาตให้จัดสร้าง เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556 การจัดสร้าง มี 2 ชนิด คือ แบบเหรียญปั๊ม และ แบบเหรียญหล่อ

จำนวนการจัดสร้าง

แบบเหรียญปั๊ม

  1. เนื้อทองคำหลังเรียบ ตอก 999 จำนวน 2 เหรียญ
  2. เนื้อทองคำ จำนวน 15 เหรียญ
  3. เนื้อเงิน จำนวน 25 เหรียญ
  4. เนื้อนวะ จำนวน 59 เหรียญ
  5. เนื้ออัลปาก้า จำนวน 319 เหรียญ
  6. เนื้อทองเหลือง จำนวน 1682 เหรียญ (ตอกโค๊ต ไม่ตอกหมายเลข)
  7. เนื้อตะกั่ว จำนวน 5 เหรียญ

แบบเหรียญหล่อ

  1. เนื้อทองคำ จำนวน 9 ชุด (ทองคำ เงิน นวะ)
  2. เนื้อเงินผสมทองคำ 13 เหรียญ
  3. เนื้อนวะ 28 เหรียญ

*** ป.ล. ตอนที่หลวงปู่ท่านกำลังจะแจกเหรียญรุ่นนี้ ที่วัดป่าดงสว่างธรรม ในขณะที่หลวงปู่ได้หยิบเหรียญขึ้นมา แล้วพิจารณาดู ท่านก็ได้เอ่ยขึ้นว่า ” เอ้า.. นี่ เหรียญวิเศษ “ แล้วท่านก็ได้แจกให้กับญาติโยม ***

รูปหล่อแสงจันทร์

อีกหนึ่งตำนาน “มรดกให้ลูกหลาน”

รูปหล่อแสงจันทร์ ได้ใช้ ชนวนมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ ของเหรียญหล่อแสงจันทร์ ที่หลวงปู่ท่านได้เททอง ที่วัดป่าดงสว่างธรรม ตามที่ท่านได้ดำริให้นำเอาชนวนที่เหลือในพิธีมาสร้างให้หมด

ทางคณะศิษย์ล่ำซำ จึงได้นำเนื้อนวะส่วนหนึ่งและ เนื้อรวม 3 พิธีเททอง ที่เหลือก้านชนวนทั้งหมด นำมาทำเป็นรูปหล่อ

โดยการหล่อทั้งหมดนี้ เป็นการหล่อแบบโบราณเทดินไทย (ดินขี้วัว) และได้เทหล่อที่โรงงาน

หลังจากได้ทำการหล่อเสร็จ จึงนำเนื้อนวะไปอุดก้นทองคำ ส่วนเนื้อ 3 พิธี นำไปอุดก้นเงิน ภายในได้บรรจุเกศา และจีวร

รูปหล่อแสงจันทร์นี้ จัดได้ว่ามีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์เหมือนกับเหรียญหล่อแสงจันทร์ทุกประการ และรูปหล่อแสงจันทร์นี้ จัดเป็นอีกหนึ่งในทายาท ”มรดกที่หลวงปู่มอบไว้ให้ลูกหลาน”

จำนวนการจัดสร้าง

  1. รูปหล่อแสงจันทร์ต้นแบบเนื้อเงินก้นทองคำ จำนวน 1 องค์
  2. รูปหล่อแสงจันทร์เนื้อนวะก้นทองคำ จำนวน 12 องค์
  3. รูปหล่อแสงจันทร์เนื้อ 3 พิธีเททองก้นเงิน จำนวน 94 องค์

หมายเหตุ
รูปหล่อแสงจันทร์ ได้ใช้เนื้อชนวนอันศักดิ์สิทธิ์ของเหรียญหล่อแสงจันทร์ นำมาทำการหล่อทั้งหมดตามดำรีของหลวงปู่ เนื้อชนวนของ ”มรดกให้ลูกหลาน” นั้น ได้ถูกนำมาจัดสร้างเพียง 2 รุ่นเท่านั้น คือ รูปหล่อแสงจันทร์ และ เหรียญมหาลาโภ

เหรียญมหาลาโภ

“จากรุ่นสู่รุ่น” จากชนวนมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ถ่ายทอดมาเป็น “เหรียญมหาลาโภ” อีกหนึ่งทายาทของชุด เหรียญหล่อแสงจันทร์ “มรดกให้ลูกหลาน”

เนื่องด้วยในวันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557 หลวงปู่ได้ทำพิธีเททองชุดแสงจันทร์ เมื่อได้ทำการจัดสร้างเหรียญหล่อแสงจันทร์เสร็จทั้งหมดแล้ว จึงเหลือก้านชนวนเป็นจำนวนมาก

หลวงปู่ท่านจึงมีดำริว่า “ให้เอาก้านชนวนที่เหลือทั้งหมด ไปทำเหรียญเพิ่มมาอีก”

ทางคณะศิษย์จึงได้กราบเรียนหลวงปู่ว่า “คงจะนำไปทำเป็นเหรียญปั๊มที่โรงงาน แล้วใช้เฉพาะเนื้อชนวนที่เหลือจากการหล่อเท่านั้น”

หลวงปู่ท่านได้อนุญาต เมื่อแบบเหรียญเสร็จแล้ว จึงได้นำไปกราบเรียนให้หลวงปู่ท่านพิจารณา หลวงปู่ท่านก็อนุญาตให้ใข้ตามแบบนี้เลย

ความสำคัญ ความศักดิ์สิทธิ์ ของเหรียญมหาลาโภนี้ ไม่ได้แตกต่างไปจากชุดเหรียญหล่อแสงจันทร์เลย จะต่างกันก็เพียงกรรมวิธีเท่านั้น เหรียญมหาลาโภ นี้ ได้ทำการรีดหลอมโลหะ และปั๋มที่โรงงาน

จำนวนการจัดสร้าง

  1. เนื้อทองคำ จำนวน 12 เหรียญ
  2. เนื้อสามกษัตริ์สองหน้า จำนวน 29 เหรียญ
  3. เนื้อเงิน จำนวน 30 เหรียญ
  4. เนื้อนวะ จำนวน 64 เหรียญ
  5. เนื้อทองเหลือง จำนวน 10,000 เหรียญ
  6. เนื้อทองแดงรองพิมพ์ จำนวน 1 เหรียญ

ปล. เนื้อชนวนศักดิ์สิทธิ์ของเหรียญหล่อแสงจันทร์นั้น หลวงปู่ท่านได้เททองที่วัดป่าดงสว่างธรรม และท่านได้มีดำริว่า “ชนวนที่เหลือให้นำไปทำเหรียญมาอีก” แล้วชนวนที่เหลือจึงถูกถ่ายทอดออกมาเป็น “เหรียญมหาลาโภ” และ “รูปหล่อแสงจันทร์” ในที่สุด

เหรียญหล่อแสงจันทร์

บทนำ “เหรียญหล่อแสงจันทร์มรดกลูกหลาน”

นับจากที่หลวงปู่ท่านได้มีดำรีให้มีการจัดสร้าง และเททองภายในวัด ที่สำนักสงฆ์บ้านเวินชัยเมื่อปี 2556 คือ รุ่น “ปาฏิหาริย์” แล้วท่านได้กล่าวไว้ว่า

“ครั้งนี้เป็นครั้งแรก และจะเป็นครั้งสุดท้าย ไม่ว่าชาติไหนๆ อาตมาก็ไม่เคยทำมาก่อน อาตมาตั้งใจจะทำไว้ให้เป็นมรดของลูกศิษย์ลูกหา”

นับจากนั้นผ่านมาประมาณ 1 ปีกว่า ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงปู่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว จนหลวงปู่ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดป่าดงสว่างธรรม อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ยิ่งทำให้ลูกศิษย์ของหลวงปู่เพิ่มขึ้นอีกเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ คหบดี และญาติโยม ไม่ว่าจะเป็นทางใกล้หรือทางไกลทั้งในและต่างประเทศ

ในเมื่อลูกศิษย์หลวงปู่เพิ่มมากขึ้น ต่างคนก็ได้ต่างพูดถึงวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ที่ผ่านมา โดยเฉพาะรุ่นปาฏิหาริย์ บางคนบอกเสียดายมาไม่ทันบ้าง มาช้าบ้าง

ด้วยวาระจิตของหลวงปู่ท่านคงรับรู้และด้วยความเมตตาขององค์ท่าน ท่านจึงมีดำริให้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น และเททองที่วัดเหมือนดั่งเช่นรุ่นปาฏิหาริย์เกือบจะทุกประการ

หลวงปู่ท่านได้มีดำริให้คณะศิษย์ล่ำซำ เป็นแม่งานในการดำเนินงานจัดสร้างในครั้งนี้เหมือนดั่งเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา หลวงปู่ท่านได้กล่าวไว้ว่า “มรดกสุดท้ายของอาตมาจะมอบให้ลูกหลาน”

ดังนั้นทางศิษย์ล่ำซำจึงได้ดำเนินงานติดต่อโรงหล่อ โดยได้โรงหล่อที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นมืออาชีพและอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศ

เมื่อทางคณะศิษย์ล่ำซำกับทางโรงหล่อได้กำหนดวันเททองหล่อพระคร่าวๆ โดยกำหนดไว้คือ วันอาทิตย์ที่ 17 ส.ค. 2557 แต่สามารถเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้ไม่เกิน 10 วัน พอเริ่มเข้าต้นเดือน ส.ค. ทางโรงหล่อยืนยันมาว่า ใช้กำหนดวันเดิมแน่ชัด ทางคณะศิษย์ล่ำซำจึงนำวันที่เททองนี้ไปกราบเรียนหลวงปู่ และหลวงปู่ท่านได้กล่าวมาว่า

“ทำไมต้องเป็นวันที่ 17 ลงใจที่จะทำกันในวันนี้มีเหตุผลอะไร ต้องดูท่าทีของฝนฟ้าอากาศด้วย เทวดาอาตมาก็ยังไม่ได้ขอเลย”

ทางศิษย์จึงกราบเรียนหลวงปู่ว่า “ไม่มีเหตุผลอะไรครับ เพียงแต่เริ่มต้นได้กำหนดวันคร่าวๆ ไว้แค่นั้นเองครับ หลวงปู่กำหนดวันเททองวันไหนก็ได้ครับ แล้วแต่หลวงปู่จะเห็นควร”

หลวงปู่ท่านก็กล่าวขึ้นมาอีกว่า “ถ้างั้นก็เอาวันเดิมนี่ล่ะ”

เมื่อใกล้ถึงวันที่จะเททองหล่อพระ 2 วัน ด้วยความบังเอิญหรืออะไรไม่ทราบได้ ทำให้ได้ไปเห็นใบสูจิบัตรหลวงปู่ จึงได้รู้ว่า แท้จริงแล้วหลวงปู่ท่านได้เกิดวันที่ 17 ส.ค. นี่เอง

จึงได้ไปกราบเรียนหลวงปู่ว่า วันที่เททองได้ตรงกับวันเกิดหลวงปู่พอดีครับ หลวงปู่ท่านได้ยิ้มแบบเมตตาอย่างมาก แล้วท่านก็ได้เอ่ยว่า “มันเป็นความบังเอิญ” ท่านพูดไปก็ยิ้มไป ส่วนตัวอยู่กับหลวงปู่มาไม่มีคำว่าบังเอิญแน่นอน

ทำให้เหรียญหล่อแสงจันทร์นี้มีความพิเศษเป็นอย่างมาก ที่ได้วันเททองหล่อพระตรงกับวันเกิดหลวงปู่อีกด้วย

ปล. โดยปกติแล้ววันเกิดหลวงปู่ กลุ่มลูกศิษย์จะยึดถือเอาวันที่ 1 ก.ย. ของทุกปีเป็นวันเกิดของหลวงปู่ เหตุเพราะไม่มีใครรู้แน่ชัดว่า วันที่หลวงปู่เกิดจริงๆ เป็นวันที่เท่าไหร่

เพราะหลวงปู่ท่านจะไม่ยึดติดกับอะไร และเวลาที่ไปถามท่านเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของท่าน ท่านก็สอนอยู่เสมอว่า “อย่าไปอยากรู้เรื่องของคนอื่นเขาเลย ให้รู้จิตรู้ใจของเราก็พอ”

เหรียญหล่อแสงจันทร์ (หลวงปู่เททอง)
หลวงปู่ได้ทำพิธีเททอหล่อพระในวันอาทิตย์ที่ 17 ส.ค. 2557 และยังตรงกับวันเกิดหลวงปู่อีกด้วย

จำนวนการจัดสร้างมีดังนี้

องค์ต้นแบบ

  1. พระกริ่งเนื้อเงินก้นทองคำ จำนวน 1 องค์
  2. เหรียญหล่อพิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อเงิน จำนวน 1 องค์
  3. เหรียญหล่อรูปไข่เนื้อเงิน จำนวน 1 องค์

ชุดกรรมการ (ลองพิมพ์)

  1. พระกริ่งเนื้อทองแดงก้นทองคำ จำนวน 4 องค์
  2. เหรียญหล่อแสงจันทร์พิมพ์รูปไข่เนื้อทองคำ จำนวน 1 องค์
  3. เหรียญหล่อแสงจันทร์พิมพ์รูปไข่เนื้อเงิน จำนวน 1 องค์
  4. เหรียญหล่อแสงจันทร์พิมพ์รูปไข่เนื้อทองแดง จำนวน 13 องค์
  5. เหรียญหล่อแสงจันทร์พิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อทองคำ จำนวน 1 องค์
  6. เหรียญหล่อแสงจันทร์พิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อเงิน จำนวน 1 องค์
  7. เหรียญหล่อแสงจันทร์พิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อทองแดง จำนวน 14 องค์
  8. เหรียญหล่อแสงจันทร์พิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อทองแดง (ตอก999) จำนวน 1 องค์



ปล. พระชุดกรรมการหรือลองพิมพ์ ได้ทำการเทที่โรงงานทุกองค์ และตอกโค๊ตคำว่า กรรมการ กำกับไว้

พระพุทธเทนำฤกษ์

  1. พระพุทธพิมพ์พระใสปิดทองขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว จำนวน 1 องค์
  2. พระกริ่งแสงจันทร์นำฤกษ์เนื้อเงินก้นทองคำ จำนวน 55 องค์
  3. พระกริ่งแสงจันทร์นำฤกษ์เนื้อเงินก้นเงิน จำนวน 44 องค์



พระพุทธเทในฤกษ์พิธี

  1. พระกริ่งแสงจันทร์ช่อบูชาเนื้อทองแดง จำนวน 2 ช่อ
  2. พระกริ่งแสงจันทรเนื้อทองแดงก้นทองแดง จำนวน 28 องค์


พระรูปเหมือนพระบูชา

  1. พระรูปเหมือนหลวงปู่องค์ใหญ่ปิดทองคำขนาดหน้าตัก 35 นิ้ว จำนวน 1 องค์
  2. พระบูชาเนื้อสำริดขนาดหน้าตัก 7 นิ้ว จำนวน 79 องค์
  3. พระบูชาเนื้อทองเหลืองขนาดหน้าตัก 7 นิ้ว จำนวน 129 องค์


เหรียญหล่อแสงจันทร์ (พิมพ์รูปไข่)

  1. เหรียญหล่อแสงจันทร์เนื้อทองคำ จำนวน 57 องค์
  2. เหรียญหล่อแสงจันทร์เนื้อเงิน จำนวน 181 องค์
  3. เหรียญหล่อแสงจันทร์เนื้อนวะ จำนวน 151 องค์
  4. เหรียญหล่อแสงจันทร์เนื้อทองเหลือง จำนวน 7,324 องค์


เหรียญหล่อแสงจันทร์ (พิมพ์สี่เหลี่ยม)

  1. เหรียญหล่อแสงจันทร์เนื้อทองคำ จำนวน 17 องค์
  2. เหรียญหล่อแสงจันทร์เนื้อรวม 3 พิธีเททอง จำนวน 175 องค์

พระกริ่งนำฤกษ์ เป็นการเทฤกษ์นำพิธี หลวงปู่ท่านได้ถือสายสิณจน์ที่ล้อมไปในปรัมพิธี แล้วหย่อนทองคำและเงินลงเบ้า

หลวงปู่ท่านเริ่มสวดนำคาถา ขณะเดียวกับช่างก็ได้หลอมชนวนเนื้อเงินและเทพระกริ่งควบคู่กับเสียงสวดมนต์ของญาติโยมดังก้องกระหึ่มวัด

เมื่อหล่อเสร็จแล้วช่างได้ทุบเบ้าพระกริ่งนำฤกษ์ทันที พร้อมกับญาติโยมทั้งหมดหลายพันคน พร้อมใจกันเปล่งเสียง สาธุ สาธุ สาธุ ดังก้องกังวานไปทั่วบริเวณ

นับว่าพระนำฤกษ์นี้ มีความสำคัญยิ่ง หลวงปู่ท่านถึงกับเอ่ยว่า “ไม่ว่าจะทำการใดก็แล้วแต่ ถ้าใช้พระพุทธนำ จะนำมาซึ่งความสำเร็จและความสุขทุกประการ”

ซึ่งก็เป็นจริงอย่างที่หลวงปู่ท่านกล่าวไว้ งานเททองหล่อพระไม่มีซึ่งอุปสรรคใดๆ เลย จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์

พระพิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อพิเศษ หรือ เนื้อ 3 พิธี ที่หลวงปู่ท่านได้เททอง ได้นำเนื้อทั้ง 3 พิธีนี้ มาหล่อหลอมรวมกันตามน้ำหนักเนื้อที่มีอยู่ทั้งหมด จนได้จำนวน 175 องค์

พิธีเททองครั้งที่ 1 ชนวนพระกริ่งล่ำซำเนื้อนวะ หลวงปู่เททองเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ที่วัดป่ามโนรมณ์สมประสงค์ (ภูทิดสา)

พิธีเททองครั้งที่ 2 ชนวนรูปหล่อปาฏิหาริย์เนื้อขันลงหินและเนื้อเงิน หลวงปู่เททองเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556 ที่สำนักสงค์บ้านเวินชัย

พิธีเททองครั้งที่ 3 (ครั้งล่าสุด) ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ที่วัดป่าดงสว่างธรรม จ.ยโสธร

ซึ่งหลังจากหลวงปู่ท่านได้เททองแล้ว ช่างได้ทำการหล่อเนื้อนวะ และเมื่อตัดเหรียญออกจากช่อแล้ว ได้นำต้นที่เป็นเนื้อนวะนั้น กลับมาใส่เบ้าหล่อหลอมรวมกันกับชนวนพระกริ่งล่ำซำ และชนวนรูปหล่อปาฏิหาริย์นี้เท่านั้น

โดยไม่มีการเจือเนื้ออื่นใดผสมเพิ่มเข้าไปเลย ทำให้ได้สุดยอดชนวนมวลสารที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง

จึงหมายความว่า หลวงปู่ท่านได้ทำพิธีเททองทั้งหมด 3 ครั้ง จาก 3 วัด และนับเป็นเวลาได้ 3 ปี ซึ่งเป็นสุดยอดชนวนพิธีแล้วจึงนำมาหล่อหลอมรวมกันเป็นหนึ่ง

นับว่าเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกกับสุดยอดเนื้อชนวนมหามงคลอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง…

หมายเหตุ

  1. พระชุดแสงจันทร์ได้ทำการเทที่วัดทั้งหมด รวมถึงวัตถุมงคลขนาดห้อยคอ ได้ทำการเทหล่อและขัดแต่งในวัด
  2. พระกริ่งนำฤกษ์ เป็นพระกริ่งที่หลวงปู่ท่านได้เมตตาอธิษฐานจิตให้ตั้งแต่โลหะยังหลอมเหลว ไปจนเทเสร็จเป็นรูปองค์พระกริ่งเลยทีเดียว และเป็นที่น่าอัศจรรย์ เมื่อเทพระกริ่งจำนวน 100 องค์ แต่ได้ 99 องค์ ซึ่งเสียไปเพียงแค่องค์เดียว นับว่าน้อยมากๆ
  3. เหรียญหล่อพิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อ 3 พิธี เป็นเนื้อที่หลวงปู่ท่านได้เททองมาทั้งหมด 3 พิธี แล้วนำชนวนที่เหลือแต่ละพิธี นำมาหล่อหลอมอยู่องค์เดียว โดยไม่มีการผสมเพิ่มเนื้ออื่นใดลงไปเลย
  4. วันที่เททอง คือวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ได้ตรงกับวันคล้ายวันเกิดของหลวงปู่ด้วย
  5. ”ชนวนที่เหลือทั้งหมด ได้นำไปทำเหรียญกลับมาอีก” คือ ก้านชนวนในพิธีทีเหลือทั้งหมดนั้น ได้นำไปสร้างวัตถุมงคลอีก 2 รุ่น ตามดำหริของหลวงปู่ นั่นคือ รูปหล่อแสงจันทร์ และ เหรียญมหาลาโภ สองรุ่นนี้เท่านั้น

พระกริ่งปทุมรังษี

พระกริ่งปทุมรังษี จัดสร้างพร้อมพระกริ่งตั๊กแตน ชนวนหลักใช้ฐานพระบูชาเก่าสมัยเชียงแสนที่ชำรุด แตกหักเป็นเนื้อสำริดทั้งหมด จากนั้นนำมาหลอมรวมกับแผ่นยันต์จารมือหลวงปู่แสง และแผ่นยันต์ในสายวัดป่ากัมมัฏฐานอีกจำนวนมาก

และได้ผสมทองคำเพิ่มเข้าไปเพื่อให้ได้เนื้อนวะโลหะชั้นยอด

กรรมวิธีในการหล่อ เป็นงานหล่อโบราณเทดินไทย(ดินขี้วัว) และการเข้าเม็ดกริ่งเป็นแบบเข้ากริ่งในตัว

จำนวนในการจัดสร้างพระกริ่งปทุมรังษีจะมีจำนวนที่น้อยมาก หลังจากเทพระกริ่งตั๊กแตนเสร็จ จะเหลือก้านชนวนและองค์พระกริ่งตั๊กแตนที่ไม่สมบูรณ์ ทั้งเนื้อเงินและเนื้อนวะ

ทางผู้สร้างจึงได้นำเนื้อที่เหลือมาเทเป็น พระกริ่งปทุมรังษีเป็นพระกริ่งพิมพ์จีนใหญ่และได้หล่อเนื้อทองคำเพิ่มเข้าไปอีกเนื้อ

พระกริ่งปทุมรังษีหลวงปู่เมตตาอธิษฐานจิตในวันศุกร์ที่ 13 ธ.ค. 2556 ที่สำนักสงฆ์บ้านเวินชัยพร้อมกับพระกริ่งตั๊กแตน

จำนวนจัดสร้าง


เนื้อทองคำ 5 องค์
เนื้อเงินก้นทองคำ 2 องค์
เนื้อนวะ 9 องค์

ทั้งพระกริ่งปทุมรังษี และ พระกริ่งตั๊กแตน ใช้เนื้อฐานพระบูชาในยุคเชียงแสน ทำให้พระทั้ง2 รุ่นนี้ มีความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังด้วยพุทธคุณ ทั้งหลวงปู่แสงได้เมตตาอธิษฐานจิตอีกสำทับ
ทำให้ดีทั้งนอกและดีใน ต่อไปจะเป็นที่ต้องการและเสาะแสวงหากันมาก

พระกริ่งตั๊กแตน

พระกริ่งตั๊กแตน จัดสร้างพร้อม พระกริ่งปทุมรังษี ชนวนหลักใช้ฐานพระบูชายุคเชียงแสนที่ชำรุด แตกหักเป็นเนื้อสำริดทั้งหมด จากนั้นนำมาหลอมรวมกับแผ่นยันต์จารมือหลวงปู่แสง และแผ่นยันต์ในสายวัดป่ากัมมัฏฐานอีกจำนวนมาก

และได้ผสมทองคำเพิ่มเข้าไปเพื่อให้ได้เนื้อนวะโลหะชั้นยอด

กรรมวิธีในการหล่อ เป็นงานหล่อโบราณเทดินไทย(ดินขี้วัว) และการเข้าเม็ดกริ่งเป็นแบบเข้ากริ่งในตัว

จำนวนในการจัดสร้างพระกริ่งตั๊กแตนจะมีจำนวนที่น้อยมาก เนื่องจากผู้สร้างต้องการสร้างจากเนื้อฐานพระบูชา ไม่ผสมเนื้อใหม่เพิ่มเข้าไปนอกเหนือจากแผ่นยันต์ และทองคำ

ส่วนเนื้อเงินได้นำเหรียญเงินตราเก่ามาหลอมเป็นแท่ง แล้วประสิทธิ์ยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้าจากนั้นนำไปหลอมทำวนแบบนี้ 3 รอบ เรียกว่าลงถม 3 กำลัง

หลวงปู่เมตตาอธิษฐานจิตในวันศุกร์ที่ 13 ธ.ค. 2556 ที่สำนักสงฆ์บ้านเวินชัย

จำนวนจัดสร้าง


เนื้อเงินก้นทองคำ 5 องค์
เนื้อนวะ 56 องค์ (หมายเลข 1-9 เป็นเนื้อนวะปลอกผิว)

เมื่อเทหล่อพระกริ่งตั๊กแตนเสร็จดีแล้ว ได้นำต้นพระกริ่งพร้อมทั้งพระที่หล่อออกมาชำรุด นำไปหลอม เทพระกริ่งปทุมรังษีพิมพ์กริ่งจีนใหญ่

เหรียญสารพัดดี และเหรียญดีสารพัด

เหรียญสารพัดดี และเหรียญดีสารพัด หลวงปู่ท่านได้มีดำริและมีเจตนาที่จะสร้าง โดยท่านได้มอบปัจจัยให้มาเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างดำเนินงาน เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท

โดยมอบให้คณะศิษย์ล่ำซำเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2557 และเมื่อแบบได้ร่างเสร็จแล้ว ทางศิษย์ล่ำซำได้นำไปถวายหลวงปู่ให้ท่านได้พิจารณาแบบ ซึ่งได้ออกแบบไว้ 2 ลักษณะ คือ แบบพิมพ์เต็มองค์ และ แบบพิมพ์ครึ่งองค์

เมื่อหลวงปู่ท่านได้พิจารณาแล้ว ท่านดำริให้จัดสร้างทั้ง 2 แบบเลย และท่านยังกำชับให้ใช้ฉายาของท่านใหม่ เป็น “พระอาจารย์แสง จันดะโชโต” (และท่านได้กล่าวว่า จันดะโชโต นั้นมีความหมายว่า ผู้ที่รุ่งเรือง) แต่เวลาอ่านออกเสียง จะต้องออกเสียงว่า ‘จันทะโชโต’

นับได้ว่าเหรียญสารพัดดี และ เหรียญดีสารพัด นี้ เป็นเหรียญรุ่นแรกที่เป็นฉายาใหม่ และ เป็นฉายาของท่านโดยแท้จริง

เหรียญเต็มองค์ คือ เหรียญสารพัดดี และ เหรียญครึ่งองค์ คือ เหรียญดีสารพัด

จะมีเนื้อนวะเท่านั้น ที่บล็อคหลังสลับกัน คือ เหรียญเต็มองค์ คือ เหรียญดีสารพัด และ เหรียญครึ่งองค์ คือ เหรียญสารพัดดี

เหรียญรุ่นนี้ จะมีหมายเลข 2 ชุด เนื่องจากหมายเลขชุดแรก ทางโรงงานลืมชุบแข็ง จึงทำให้เวลาตอกเหรียญแล้วหมายเลขสึก ฉะนั้น จึงได้สั่งทำหมายเลขใหม่ขึ้นมาอีก 1 ชุด หมายเลขชุดที่ 2 นี้ จะมีขนาดเล็กกว่าหมายเลขชุดแรก

เหรียญที่ตอกเลข 9 เก้าตัว จะมีเนื้อนวะ จำนวน 2 เหรียญ และ เนื้อสัตตะโลหะ 1 เหรียญ

จำนวนการจัดสร้าง เหรียญสารพัดดี

  1. เนื้อทองคำลงยา จำนวน 5 เหรียญ
  2. เนื้อทองคำ จำนวน 12 เหรียญ
  3. เนื้อเงิน จำนวน 50 เหรียญ
  4. เนื้อนวะ จำนวน 52 เหรียญ
  5. เนื้อสัตตะโลหะ จำนวน 69 เหรียญ
  6. เนื้ออัลปาก้า จำนวน 508 เหรียญ
  7. เนื้อทองเหลือง จำนวน 5,347 เหรียญ

จำนวนการจัดสร้าง เหรียญดีสารพัด

  1. เนื้อทองคำลงยา จำนวน 5 เหรียญ
  2. เนื้อทองคำ จำนวน 12 เหรียญ
  3. เนื้อเงิน จำนวน 50 เหรียญ
  4. เนื้อนวะ จำนวน 50 เหรียญ
  5. เนื้อสัตตะโลหะ จำนวน 69 เหรียญ
  6. เนื้ออัลปาก้า จำนวน 570 เหรียญ
  7. เนื้อทองเหลือง จำนวน 5,601 เหรียญ