All posts by nana

เหรียญหล่อบูรณะเจดีย์

ดำริหลวงปู่

ในวันเสาร์ที่ 6 พ.ค. 2560 ในเวลาช่วงเย็น หลวงปู่ท่านได้มีดำริให้ไปจัดสร้างเหรียญ เนื่องจากเหรียญที่วัดใกล้จะหมดลง ญาติโยมเข้ามากราบองค์หลวงปู่มากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับที่วัดกำลังบูรณะพื้นเจดีย์อยู่

เมื่อบูรณะเสร็จแล้วหลวงปู่ท่านจะทำบุญฉลองเจดีย์ด้วย เหรียญหล่อบูรณะเจดีย์และ เหรียญปั๊มบูรณะเจดีย์ จึงกำเนิดเกิดขึ้น และน้อมนำถวายหลวงปู่เพื่อการนี้ ที่วัดป่าอรัญญาวิเวก จ.อำนาจเจริญ

เหรียญรุ่นนี้ได้ทำมาเป็น 2 ชนิดคือ แบบหล่อทรงเสมา และ แบบปั๊ม (แบบปั๊มดูได้ในหัวข้อ เหรียญปั๊มบูรณะเจดีย์)

* แบบเหรียญหล่อบูรณะเจดีย์*

กรรมวิธีในการหล่อเหรียญชุดนี้ ใช้กรรมวิธีการหล่อโดยใช้วิธีการหล่อเหวี่ยง เพื่อให้ได้รายละเอียดที่ชัดเจนสวยงาม

วันอธิษฐานจิต

เหรียญหล่อและเหรียญปั๊มบูรณะเจดีย์ ได้อธิษฐานจิตในวันพฤหัสที่ 6 ก.ค. 2560 ในช่วงบ่าย หลังจากอธิษฐานจิตเสร็จหลวงปู่ท่านได้หยิบเหรียญขึ้นมาพิจารณา แล้วหลวงปู่ท่านได้เอ่ยขึ้นว่า ” เหรียญนี้เป็นเหรียญที่เป็นมงคลยิ่ง “

จำนวนจัดสร้าง

  1. เนื้อทองคำ 9 ชุด ( ทองคำ นาก เงิน นวะ ขันลงหิน )
  2. เนื้อนาก 22 องค์
  3. เนื้อเงิน 48 องค์
  4. เนื้อนวะ 39 องค์
  5. เนื้อขันลงหิน 569 องค์

*** หมายเลข 1-9 ของทุกเนื้อ จะอยู่ในชุดทองคำ แล้วนำมาตอกโค๊ตพิเศษเพิ่มอีกหนึ่งตัว คือโค๊ตตัว ก. ตอกไว้ที่บาตรด้านหลังเหรียญ ***

พระกริ่งพุทธะ


พระกริ่งพุทธะ เป็นอีกหนึ่งในสุดยอดพระกริ่งของหลวงปู่แสง จันดะโชโต ได้ขออนุญาตจัดสร้างที่วัดป่าวิมุติธรรมพร้อมทั้งรูปเหมือนไม้แกะ ได้ขออนุญาตจัดสร้างเป็นกรณีพิเศษเป็น การจัดสร้างเป็นการเฉพาะ เนื่องจากสร้างเป็นจำนวนน้อย

วิธีการหล่อ

พระกริ่งพุทธะนั้นได้ใช้กรรมวิธีแบบการหล่อเหวี่ยง และทำเพียงแค่ 2 เนื้อเท่านั้น คือ เนื้อทองคำ และ เนื้อนวะ

เนื้อนวะนั้นเมื่อได้ทำการหล่อเสร็จแล้วได้นำไปปิดก้นด้วยทองคำ และได้นำไปปลอกผิวทุกองค์ ส่วนการปลอกผิวได้ทำการปลอกผิวด้วยมือ


วันอธิษฐานจิต
หลวงปู่ท่านได้เมตตาอธิษฐานจิตให้ถึง 3 วาระด้วยกัน คือ

วาระที่ 1 วันพุธที่ 1 มีนาคม 2560
วาระที่ 2 วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2560 ( พร้อมรูปหล่ออัศจรรย์ )
วาระที่ 3 วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม 2560

จำนวนการสร้าง


1. เนื้อทองคำ 7 องค์

2. เนื้อนวะก้นทองคำ 19 องค์

รูปหล่ออัศจรรย์

จุดเริ่มต้นรูปหล่ออัศจรรย์

ในวันศุกร์ที่ 6 ม.ค. 2560 หลวงปู่ท่านได้มอบของสิ่งหนึ่งมีลักษณะเหมือนแก้วสีแดงอมส้ม เนื้อใสบริสุทธิ์ สวยงาม ให้ไปเก็บรักษาไว้ก่อน พร้อมที่จะนำไปทำวัตถุมงคลในกาลต่อไป

ดำริหลวงปู่จัดสร้าง

วันอาทิตย์ที่ 15 ม.ค. 2560 หลวงปู่ท่านได้เรียกให้ไปพบ แล้วท่านมีดำริมาว่า ให้นำเอาแก้วสารพัดนึก (ที่มีขนาดประมาณครึ่งกำมือ) ให้นำไปย่อยเป็นเม็ดเล็กๆ ให้มีขนาดเท่ากับเมล็ดถั่วเขียว แล้วให้นำมาบรรจุในพระองค์เล็กขนาดห้อยคอซึ่งหลวงปู่ท่านให้ทำเป็น รูปเหมือนของท่านบรรจุแก้วสารพัดนึก หลวงปู่ท่านยังกำชับอีกว่า จะบรรจุแก้วสารพัดนึกยังไงก็ได้แต่ต้องให้มองเห็น

อัศจรรย์แก้วสารพัดนึก

วันเสาร์ที่ 28 ม.ค. 2560 ในช่วงบ่ายขณะที่ถวายนวดหลวงปู่ พร้อมกับครูบาในวัด หลวงปู่ท่านได้เมตตาเล่าที่มาของแก้วสารพัดนึกให้ฟังว่า…แก้วสารพัดนึกนี้ท่านได้เก็บรักษาไว้นานแล้ว วันที่ท่านได้มานั้น ขณะที่หลวงปู่ท่านกำลังปัดเก็บที่นอนอยู่ แก้วเม็ดนี้ได้มาแสดงตัว ปรากฏอยู่ตรงที่นอนของท่าน มาเอง แล้วหลวงปู่ท่านได้ก็กล่าวว่า

อาตมาไม่เคยอยากจะได้ แค่อยากจะเห็นเฉยๆว่า ของวิเศษมันเป็นยังไง
แต่เขากับเอามามอบให้อาตมา “

การที่หลวงปู่ท่านได้เอ่ยวาจามาว่า แก้วเม็ดนี้เป็นของวิเศษ แสดงว่าไม่ธรรมดาแน่นอน เพราะหลวงปู่ท่านจะไม่ค่อยได้เอ่ยหรือกล่าวว่า สิ่งใดเป็นของวิเศษหรือมีฤทธิ์ น้อยครั้งที่ท่านจะกล่าวออกมา มีแต่บอกว่า ก็แค่นั้นหรือไม่ก็ว่าไม่สลักสำคัญอะไรพอที่จะให้ตื่นเต้น แม้กระทั่งเหล็กเปียก เหล็กไหล

แต่สำหรับแก้วสารพัดนึกนี้ หลวงปู่ท่านได้เอ่ยวาจาว่าเป็นของวิเศษ และท่านได้เก็บรักษาเอาไว้ในย่ามท่านตลอด แสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ความศักดิ์สิทธิ์ และฤทธิ์ธา พุทธานุภาพของแก้วเม็ดนี้เป็นอย่างดี แม้กระทั่งการมาของแก้วสารพัดนึกนี้ก็ไม่ธรรมดา สุดแสนอัศจรรย์ยิ่ง..

การแยกเม็ดแก้วสารพัดนึก

แก้วสารพัดนึกขนาดไม่ถึงหนึ่งกำปั้นแต่หนักถึงเกือบ 5 ขีด ได้ไปทำการย่อย แล้วเจียรโดยช่างพัด บ้านสร้างมิ่ง ย่อยเป็นเม็ดเล็กๆขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 5 มิลลิเมตร ได้จำนวน 205 เม็ด แล้วยังมีเม็ดที่มีรูปทรงรีอีก 83 เม็ด และเป็นทรงเหลี่ยมอีก 3 เม็ด รวมเป็นทั้งหมด 291 เม็ด

เท่ากับว่า จำนวนพระรูปหล่อทั้งหมดทุกเนื้อรวมกันจะมี 291 องค์ ตามจำนวนเม็ดแก้วสารพัดนึก เพราะยึดเอาเม็ดแก้วสารพัดนึกเป็นหลัก ได้จำนวนเท่าไหร่ก็เอาเท่านั้น

เม็ดแก้วสารพัดนึกนี้ได้มีคุณลักษณะพิเศษคือ ใสเหมือนแก้ว หนักเหมือนเหล็ก แกร่งเหมือนเพชร ความแกร่งนี้ช่างที่เจียรได้บอกเอาไว้ว่า ความแข็งนั้นอยู่ในจำพวก ตระกูลเพชร

แบบรูปหล่อ

หลังจากหลวงปู่ท่านได้มีดำริมาแล้วว่า ให้ทำเป็นรูปหล่อขนาดห้อยคอ ดังนั้นจึงหาภาพหลวงปู่ที่จะนำมาปั้นเป็นต้นแบบ แล้วได้ความสรุปว่า จะใช้ภาพหลวงปู่ในช่วงที่ท่านอยู่ช่วงอายุ 70 กว่า เป็นภาพถ่ายที่ท่านได้เมตตาให้ศิษย์ถ่ายภาพที่กุฏิของท่าน ที่วัดป่าอรัญญาวิเวก ที่บ้านไก่คำ จ.อำนาจเจริญ

แล้วรูปหล่อรุ่นนี้ก็จะนำถวายหลวงปู่ที่วัดป่าอรัญญาวิเวก บ้านไก่คำ จ.อำนาจเจริญ เช่นกัน

งานขึ้นต้นแบบหุ่นขี้ผึ้ง

ในงานปั้นหุ่นต้นแบบ เมื่อได้ภาพต้นแบบแล้ว ได้มองหาช่างปั้นที่จะถ่ายทอดความละเอียดอ่อน ความสวยงาม ของรูปหล่อรุ่นนี้ เพื่อให้สมกับที่หลวงปู่ท่านให้ความสำคัญของรูปหล่อรุ่นนี้เป็นอย่างมาก พร้อมทั้งยังเน้นย้ำให้นำแก้วสารพัดนึกมาบรรจุไว้

แล้วที่สุดก็ได้ช่างปั้นที่เป็นผู้หญิง มารับหน้าที่ในการปั้นต้นแบบของรูปหล่อรุ่นนี้ โดยขึ้นหุ่นด้วยขี้ผึ้งแทนหุ่นหิน เพื่อที่จะถ่ายทอดความงามของงานปั้น ความอ่อนโยนสวยงามพร้อมศิลป์ให้ลงตัวมากที่สุด

และในวันเสาร์ที่ 11 ก.พ. 2560 งานต้นแบบหุ่นขี้ผึ้งได้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อได้พิจารณาหุ่นขี้ผึ้งต้นแบบดีแล้ว มีความสวยงามลงตัวเป็นอย่างมาก งานปั้นได้เหมือนภาพต้นแบบถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างดีเยี่ยม เสมือนหลวงปู่ท่านนั่งอยู่ตรงหน้าเลยทีเดียว

หล่อต้นแบบ

หลังจากนั้นได้นำหุ่นขี้ผึ้งไปให้ช่างเข้าแบบปูนเพื่อเทเป็นองค์ต้นแบบ โดยได้เทองค์ต้นแบบเป็นเนื้อเงิน หลังจากนั้นนำองค์ต้นแบบไปให้ช่างขัดเกลารายละเอียดให้ชัดเจนมากขึ้นพร้อมทั้งแกะชื่อหลวงปู่ที่ฐานให้เรียบร้อย พร้อมที่จะนำไปถอดหุ่นเทียนเพื่อทำการหล่อต่อไป

งานหล่อพระรูปหล่อรุ่นนี้ได้ใช้ กรรมวิธีแบบหล่อเหวี่ยง เพื่อให้ได้รายละเอียดที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เมื่อหล่อเสร็จดีแล้วทุกเนื้อ ได้นำเอาเนื้อเงินกับเนื้อนวะไปปลอกผิว หลังจากปลอกผิวเสร็จแล้ว ก็ได้นำพระไปขัดผิวโดยร้านจิวเวอรี่

หลังจากนั้นได้นำรูปหล่อทั้งหมดไปบรรจุผงพุทธคุณที่ใต้ฐานองค์พระ แล้วนำเอาเม็ดแก้วสารพัดนึกฝังลงไปในเนื้อผง แต่สามารถมองเห็นทุกองค์ตามดำริของหลวงปู่ ส่วนผงที่นำมาบรรจุใต้ฐานองค์พระ ได้นำผงพุทธคุณหลายคณาจารย์รวมทั้ง พระผงเพ็ชร แตกหัก แล้วนำ เกศาของหลวงปู่ มาซอยให้เป็นเส้นเล็กๆแล้วผสมลงไปด้วย

จำนวนในการจัดสร้าง

  1. เนื้อทองคำ 16 องค์ ( ตอกโค๊ต มะ อะ อุ )
  2. เนื้อนวะโลหะ 56 องค์ ( ตอกโค๊ต มะ )
  3. เนื้อเงินผสมทองคำ 63 องค์ ( ตอกโค๊ต อะ )
  4. เนื้อขันลงหิน 154+1 องค์ ( ตอกโค๊ต อุ )
  5. เนื้อเงินต้นแบบ 1 องค์ ( ตอกโค๊ต มะ อะ อุ )

วันอธิษฐานจิต

รูปหล่ออัศจรรย์หลวงปู่ได้เมตตาอธิษฐานจิตในวันอังคารที่ 15 มี.ค. 2560 ในช่วงเวลา 18.30 น. ถ้าจะนับวัตถุมงคลทั้งหมดของหลวงปู่ รุ่นนี้น่าจะเป็นรุ่นเดียวที่หลวงปู่ท่านได้อธิษฐานจิตในช่วงเวลาพลบค่ำ

เหตุที่รูปหล่ออัศจรรย์ ได้นำไปให้หลวงปู่ท่านเมตตาอธิษฐานจิตในตอนใกล้ค่ำเพราะว่า ในวันดังกล่าวขณะเดินทางจากกรุงเทพโดยรถยนต์ เพื่อมายังจังหวัดอำนาจเจริญ ในตอนนั้นเป็นเวลาช่วงบ่าย หลวงปู่ท่านได้บอกให้ลูกศิษย์ที่วัดโทรมาบอกว่า ถ้ามาถึงให้เข้ามาหาท่านที่กุฏิเลย ท่านรออยู่ เมื่อมาถึงกุฏิท่านในช่วงเย็น ท่านให้นำรูปหล่ออัศจรรย์นี้มาให้ท่านดูและหลวงปู่ท่านก็ได้อธิษฐานจิตให้เลยในวันเวลาดังกล่าว

แสดงให้เห็นว่า หลวงปู่ท่านให้ความสำคัญกับพระชุดนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่เคยมีปรากฏมาก่อนที่หลวงปู่ท่านจะรอวัตถุมงคล เพราะช่วงเวลาดังกล่าวเป็นเวลาที่หลวงปู่ท่านพักผ่อนแล้ว และจะไม่มีใครกล้ารบกวนท่านเด็ดขาดถ้าไม่มีคำสั่งจากหลวงปู่ รูปหล่อรุ่นนี้จึงไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน ดั่งเช่นที่หลวงปู่ท่านได้เอ่ยวาจาไว้ว่า

อยากได้อะไร ก็ให้ขอเอาในนี้ “ เมื่อหลวงปู่ท่านอธิษฐานจิตเสร็จดีแล้ว หลวงปู่ท่านได้หยิบเอารูปหล่ออัศจรรย์ขึ้นมาพิจารณา ท่านก็ได้พลิกดูที่ใต้ฐานรูปหล่อแล้วหลวงปู่ท่านได้เอ่ยวาจาขณะที่มือของท่านยังถือรูปหล่ออยู่ว่า ” สิ่งที่สำคัญที่สุดได้มาอยู่ตรงนี้แล้ว “

*หมายเหตุ *

เฉพาะเนื้อขันลงหินจะมีหมายเลข 33 สององค์ เนื่องมาจากการตอกหมายเลขซ้ำกัน

ดังนั้น ผู้จัดสร้างจึงได้นำหมายเลข 33 ในองค์ที่ตอกซ้ำกัน มาตอกโค๊ตเพิ่มอีกหนึ่งตัว ตอกเพิ่มตรงบริเวณสังฆาฏิด้านหน้า

ฉะนั้น รูปหล่ออัศจรรย์เนื้อขันลงหินองค์หมายเลข 33 จะมี 2 องค์ คือ องค์ 1 โค๊ตและ องค์ 2 โค๊ต

*หมายเหตุ*

เนื้อขันลงหิน หมายเลข 66 มีเฉพาะหมายเลข แต่ไม่มีโค๊ต เนื่องจากช่างลืมตอกโค๊ต และโค๊ตได้ทำลายไปแล้ว

สรุปแล้ว รูปหล่ออัศจรรย์เนื้อขันลงหินจะมีทั้งหมด 155 องค์ และจะมีหมายเลขที่ตอกกำกับองค์พระที่หมายเลข 1 – 154 เท่านั้น

พระผงเพ็ชร พิมพ์รูปเหมือนครึ่งองค์

พระผงเพ็ชร หลวงปู่แสง ได้รวบรวมชนวนมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งเก่าและใหม่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งผงตะไบของชุดพิธีเหรียญหล่อแสงจันทร์ ที่หลวงปู่ท่านได้เมตตาเททอง

ในการจัดสร้างพระผงเพ็ชรนี้ ได้แบ่งเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์รูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ และ พิมพ์สมเด็จ (ดูได้ในหัวข้อ สมเด็จเพ็ชร)

โดยในพิมพ์รูปเหมือนนั้น ในด้านหลังได้โรยเพชรหน้าทั่ง ที่ด้านหลัง ของพระทุกองค์ ส่วนในเนื้อขาวนั้นจะโรยด้วยพลอยเสก และฝังจีวรหลวงปู่

พระผงเพ็ชรรูปเหมือน จะมีอยู่ 3 เนื้อด้วยกันคือ เนื้อสีขาว สีแดง สีดำ

ชนวนมวลสาร

1. พระผงหลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค

2. พระผงพุทโธ คุณแม่บุญเรือน

3. พระสมเด็จบางขุนพรหม 09

4. พระผงหลวงพ่อโอภาสี

5. พระผงหลวงปู่แหวน

6. พระสมเด็จวัดมฤคทายวัน

7. พระผงพระผงหลวงปู่ดู่ วัดสะแก

8. พระเสด็จกลับ หลวงปู่สุภา

9.ผงหลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง

10. ผงหลวงพ่อโพธิ์แจ้ง วัดโพธิ์แมน

11. พระผงและแป้งเสก หลวงปู่บุดดา

12. ผงจตุคามรามเทพ ปี 2530

13. สมเด็จบางขุนพรหม ปี 2517

14. สมเด็จวัดระฆัง 100 ปี

15. ดินใจกลางองค์พระปฐมเจดีย์

16. พระผงหลวงปู่ขาว อนาลโย

17. ผงไม้กุฏิพระอาจารย์มั่น

18. ผงหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

19. พระผงหลวงปู่หลอด วัดใหม่เสนา

20. พระผงวัดประสาท

21. พระเนื้อดิน 25 พุทธศตวรรษ

22. ทรายเสกหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

23. ปฐวีธาตุบด

24. พระผงหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา

25. พระผงเจ้าคุณนร

26. พระผงวัดบวร รวมหลายรุ่น

27. พระผงวัดสุทัศน์ รวมหลายรุ่น

28. ผงเหล็กน้ำพี้

29. ผงเกษรดอกไม้พร้อมทั้งน้ำพุทธมนต์รวมทั้งชานหมากพระกัมมัฏฐาน

30. เพชรหน้าทั่ง

31. ผงกะลาตาเดียว

32. ผงว่าน 108

นอกจากมวลสารที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ยังได้มีชนวนที่สำคัญของหลวงปู่ ที่ได้นำมาผสมลงไปด้วย ดังนี้

1. ผงตะไบเหรียญหล่อแสงจันทร์

2. เกษาหลวงปู่

3. จีวรครองกายหลวงปู่

จำนวนการจัดสร้าง พระผงรูปเหมือนครึ่งองค์ เนื้อขาว

  1. พระผงเพ็ชรหน้ากากทองคำ 25 องค์
  2. พระผงเพ็ชรหน้ากากเงิน 50 องค์
  3. พระผงเพ็ชรเนื้อขาวธรรมดา 368 องค์

จำนวนการจัดสร้าง พระผงรูปเหมือนครึ่งองค์ เนื้อแดง

  1. พระผงเพ็ชรปิดทองในบล็อก 100 องค์ ( มีหมายเลข )
  2. พระผงเพ็ชรเนื้อแดงธรรมดา 450 องค์

จำนวนการจัดสร้าง พระผงรูปเหมือนครึ่งองค์ เนื้อดำ

  1. พระผงเพ็ชรปิดทองในบล็อก 100 องค์ ( มีหมายเลข )
  2. พระผงเพ็ชรเนื้อดำธรรมดา 2699 องค์

ชนวนมวลสารเก่าทั้งหมดที่ได้มา ผู้สร้างได้ขอขอบคุณผู้ใหญ่หลายท่าน ที่เมตตาได้มอบมวลสารสำคัญๆ นำมาใส่ผสมลงในชุดพระผงเพ็ชรและ พระสมเด็จเพ็ชร ของ หลวงปู่แสง จันดะโชโต เพื่อที่จะได้สุดยอดมวลสาร ที่ศักดิ์สิทธิ์ แล้วได้รับการอธิษฐานจิตจากหลวงปู่แสง ยิ่งทำให้พระผงชุด นี้ เป็นที่สุดแห่งความเข้มขลัง เป็นมหามงคลอันทรงคุณค่า

วันอธิษฐานจิต หลวงปู่แสง จันดะโชโต ท่านได้เมตตาอธิษฐานจิต พระผงเพ็ชรและพระสม เด็จเพ็ชร ในวันเสาร์ที่ 3 ธ.ค. 2559

สมเด็จเพ็ชร

สมเด็จเพ็ชรหลวงปู่แสง ได้รวบรวมชนวนมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งเก่าและใหม่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งผงตะไบของชุดพิธีเหรียญหล่อแสงจันทร์ ที่หลวงปู่ท่านได้เมตตาเททอง

ในการจัดสร้างสมเด็จเพ็ชรนี้ ได้แบ่งเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์สมเด็จ และ พิมพ์รูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ (ดูได้ในหัวข้อพระผงเพ็ชร)

ส่วนในพิมพ์สมเด็จ จะมีเนื้อขาวเนื้อเดียว เนื้อนี้จะแก่ปูนเปลือกหอย ผสมผงเก่า เป็นจำนวนมาก จะใช้การหมักเนื้อและผสมเนื้อแบบโบราณ

ชนวนมวลสาร

1. พระผงหลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค

2. พระผงพุทโธ คุณแม่บุญเรือน

3. พระสมเด็จบางขุนพรหม 09

4. พระผงหลวงพ่อโอภาสี

5. พระผงหลวงปู่แหวน

6. พระสมเด็จวัดมฤคทายวัน

7. พระผงพระผงหลวงปู่ดู่ วัดสะแก

8. พระเสด็จกลับ หลวงปู่สุภา

9.ผงหลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง

10. ผงหลวงพ่อโพธิ์แจ้ง วัดโพธิ์แมน

11. พระผงและแป้งเสก หลวงปู่บุดดา

12. ผงจตุคามรามเทพ ปี 2530

13. สมเด็จบางขุนพรหม ปี 2517

14. สมเด็จวัดระฆัง 100 ปี

15. ดินใจกลางองค์พระปฐมเจดีย์

16. พระผงหลวงปู่ขาว อนาลโย

17. ผงไม้กุฏิพระอาจารย์มั่น

18. ผงหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

19. พระผงหลวงปู่หลอด วัดใหม่เสนา

20. พระผงวัดประสาท

21. พระเนื้อดิน 25 พุทธศตวรรษ

22. ทรายเสกหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

23. ปฐวีธาตุบด

24. พระผงหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา

25. พระผงเจ้าคุณนร

26. พระผงวัดบวร รวมหลายรุ่น

27. พระผงวัดสุทัศน์ รวมหลายรุ่น

28. ผงเหล็กน้ำพี้

29. ผงเกษรดอกไม้พร้อมทั้งน้ำพุทธมนต์รวมทั้งชานหมากพระกัมมัฏฐาน

30. เพชรหน้าทั่ง

31. ผงกะลาตาเดียว

32. ผงว่าน 108

นอกจากมวลสารที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ยังได้มีชนวนที่สำคัญของหลวงปู่ที่ได้ นำมาผสมลงไปด้วย

1. ผงตะไบเหรียญหล่อแสงจันทร์

2. เกษาหลวงปู่

3. จีวรครองกายหลวงปู่

พระพิมพ์พิเศษ สมเด็จเพ็ชร พระพิมพ์นี้มีพิมพ์เดียวเป็นพิมพ์สมเด็จ พิมพ์ใหญ่ เนื้อหามวลสารเข้มข้น ผสมผงเก่าเป็นจำนวนมาก ใช้วิธีการผสมและหมักเนื้อตามสูตรโบราณ ทุกประการ ไม่มีส่วนผสมของกาว ส่วนการกดพิมพ์ได้ทำการ กดพิมพ์ด้วยมือทุกองค์ แล้ว ตัดขอบด้วยตอก ตามแบบฉบับการทำพระสมเด็จในสมัยก่อน

จำนวนการจัดสร้าง

  1. พระสมเด็จเพ็ชรลงรักปิดทองหลังพระ 9 องค์
  2. พระสมเด็จเพ็ชร 56 องค์

ชนวนมวลสารเก่าทั้งหมดที่ได้มา ผู้สร้างได้ขอขอบคุณผู้ใหญ่หลายท่าน ที่เมตตาได้มอบมวลสารสำคัญๆ นำมาใส่ผสมลงในชุดพระผงเพ็ชรและ พระสมเด็จเพ็ชร ของ หลวงปู่แสง จันดะโชโต เพื่อที่จะได้สุดยอดมวลสาร ที่ศักดิ์สิทธิ์ แล้วได้รับการอธิษฐานจิตจากหลวงปู่แสง ยิ่งทำให้พระผงชุด นี้ เป็นที่สุดแห่งความเข้มขลัง เป็นมหามงคลอันทรงคุณค่า

วันอธิษฐานจิต หลวงปู่แสง จันดะโชโต ท่านได้เมตตาอธิษฐานจิต พระผงเพ็ชรและพระสม เด็จเพ็ชร ในวันเสาร์ที่ 3 ธ.ค. 2559

รูปหล่อชัยโย

รูปหล่อชัยโย หลวงปู่แสง จันดะโชโต เป็นรูปหล่อขนาดห้อยคอ ได้ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างที่วัดป่าวิมุติธรรม ใต้ฐานได้บรรจุผงธูปเสกของพระอาจารย์มั่น ซึ่งหลวงปู่ท่านได้ไปนำมาด้วยองค์ท่านเอง ที่ภูหล่น (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่รุ่น “ล็อกเก็ตสี่เหลี่ยม”)

รูปหล่อชัยโยหลวงปู่ท่านได้เมตตาอธิษฐานจิตในวันเสาร์ที่ 9 ม.ค. 2559 นับได้ว่าเป็นรูปหล่อรุ่นแรก ที่ได้ออกที่ วัดป่าวิมุติธรรม อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

จำนวนการสร้าง

  1. เนื้อทองคำ 14 องค์
  2. เนื้อเงิน 24 องค์
  3. เนื้อนวะก้นตัน 12 องค์
  4. เนื้อนวะ 82 องค์

เหรียญประทานพร

เหรียญประทานพร ศิษย์ร้อยเอ็ดได้ขออนุญาติหลวงปู่จัดสร้าง โดยได้ทำเป็นเหรียญทรงเสมา หลวงปู่ท่านได้เมตตาอธิษฐานจิตให้ในวันพุธที่ 20 ม.ค. 2559
หลังจากที่หลวงปู่ท่านได้อธิษฐานจิตเสร็จแล้ว หลวงปู่ท่านได้เมตตาแจกเหรียญในตอนนั้นเลย

จำนวนจัดสร้าง

  1. เนื้อทองคำลงยาหลังเรียบจาร 3 เหรียญ
  2. เนื้อทองคำลงยา 20 เหรียญ
  3. เนื้อเงินลงยาหน้ากากทองคำ 20 เหรียญ
  4. เนื้อเงินลงยา 99 เหรียญ
  5. เนื้อนวะ 12 เหรียญ
  6. เนื้อทองแดงนอก 500 เหรียญ
  7. เนื้อทองเหลือง 2,500 เหรียญ

ปล. เฉพาะเนื้อทองเหลืองที่ตอกแต่โค๊ตไม่ตอกหมายเลข นอกนั้นตอกทั้งโค๊ตและหมายเลขกำกับ

พระกริ่งอรหัง

พระกริ่งอรหัง หลวงปู่แสง จันดะโชโต ขออนุญาตจัดสร้างโดยคณะศิษย์จากอเมริกา เป็นกริ่งที่ 3 ตามความตั้งใจของผู้สร้าง ที่ต้องการจะจัดสร้างพระกริ่งให้ครบ 3 รุ่น มี (พระกริ่งวิมุติธรรม) (พระกริ่งปวเรศ) และสุดท้ายคือ (พระกริ่ง อรหัง)

และพระกริ่งอรหังนี้ ได้ใช้กรรมวิธีการเทหล่อโบราณดินไทย แบบชักกริ่งในตัว ยกเว้น เนื้อทองคำเท่านั้นที่ใช้การหล่อแบบเหวี่ยง

ที่สุดแห่งชนวนมวลสาร เป็นการรวบรวมชนวนมวลสารมากที่สุดเท่าที่มีมา ได้รับความเมตตาจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่ได้มอบชนวนสำคัญๆ นำมาหลอมรวมในพระกริ่งชุดนี้ ให้สมดั่งฉายาว่า “พระกริ่งอรหัง หลวงปู่แสง จันดะโชโต”

ชนวนมวลสารแบ่งเป็น “ชนวนใน” หมายถึงชนวนเฉพาะของหลวงปู่ และ “ชนวนนอก” หมายถึงชนวนสำคัญๆ ของครูอาจารย์ทั้งเก่าและใหม่ทั่วประเทศ

ชนวนใน

  1. ชนวนพระกริ่งล่ำซำ
  2. ชนวนรูปหล่อปาฏิหาริย์
  3. ชนวนเหรียญหล่อแสงจันทร์
  4. ชนวนพระกริ่งกันจิต
  5. ชนวนพระกริ่งวิมุติธรรม
  6. ชนวนรูปหล่อกัมมัฏฐาน
  7. ชนวนเหรียญจอบกัมมัฏฐาน
  8. ชนวนพระกริ่งปวเรศ

ชนวนนอก

1. ชนวนรวมเหรียญหล่อชนะมาร ของอาจารย์สุธันต์ สุนทรเสวี

2. ชนวนพระบูชาหลวงพ่อดำ วัดสุทัศน์

3. ชนวนพระกริ่งมหายันต์ วัดสุทัศน์

4. ชนวนพระกริ่งเฉลิมพระเกียรติ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงปู่โต๊ะ เททองเป็นรุ่นสุดท้าย

5. ชนวนพุทธชินราชอินโด วัดสุทัศน์ 2484 6. ชนวนรวมวัดบวรนิเวศ

7. ชนวนพระพุทธ 25 ศตวรรษ

8. ชนวนหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม

9. ชนวนหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม

10. ชนวนหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน

11. ชนวนหลวงพ่อเพิ่ม วัดแค

12. ชนวนหลวงปู่เปรื่อง วัดสันติวัฒนา

13. ชนวนและแผ่นจาร หลวงพ่อสิริ วัดตาล

14. ชนวนพระกริ่งหลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ

15. ชนวนพระกริ่ง หลวงปู่สมหมาย วัดป่าอนาลโย

16. ชนวนพระหลวงปู่จื่อ วัดเขาตาเงาะ

17. ชนวนรวมของ อาจารย์ชุม ไชยคีรี

18. ชนวนพระกริ่งไชยสีหนาท ของอาจารย์สุรสี ไชยสีหนาท

19. ชนวนรวมของหลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน


ทางผู้สร้างต้องขอขอบคุณผู้หลักผู้ใหญ่ ที่ได้มอบชนวนสำคัญๆนำมาหลอมพระกริ่งอรหัง เพื่อให้พระกริ่งรุ่นนี้ดีทั้งนอกดีทั้งใน

วันอธิษฐานจิต

พระกริ่งอรหังชุดนี้ ได้รับความเมตตาจากองค์หลวงปู่แสง ได้อธิษฐานจิตให้ในวันอังคารที่ 21 มิ.ย. 2559


จำนวนการจัดสร้าง

  1. เนื้อทองคำ 13 องค์
  2. เนื้อเงินหมุดทองคำ. 21 องค์
  3. เนื้อทองสำริดหมุดเงิน 65 องค์

พระกริ่งอรหัง คงความเป็นการหล่อโบราณมากที่สุด หลังจากทุบเบ้าเสร็จแล้ว ไม่ได้ทำการตกแต่งผิว เพียงแค่ล้างน้ำแล้วเก็บรอยฉลาบที่เป็นส่วนเกินเท่านั้น ไม่มีการอุดแต่งใดนอกจากอุดรอยตะปูตรงเข้าเม็ดกริ่งเท่านั้น ทำให้พระกริ่ง “อรหัง” นี้ มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีความลงตัวในรูปแบบ ให้สมกับคำว่า ” กริ่งอรหัง ของพระอรหันต์ “

ปล. พระกริ่งอรหังเป็นพระกริ่งที่ 3 เป็นพระกริ่งสุดท้ายของชุด พระกริ่งไตรเทพ เป็นพระกริ่ง ที่ถ่ายทอดศิลปะการหล่อแบบโบราณที่ลงตัวอีกรุ่นหนึ่ง เป็นพระกริ่งที่ได้ผสมชนวนมวลสารอย่างเข้มขลัง ทำให้ชุดพระกริ่งไตรเทพเป็นชุดพระกริ่งที่ยอดเยี่ยมอีกชุดหนึ่ง

พระกริ่งปวเรศ


พระกริ่งปวเรศ เป็นพระกริ่งที่ 2 ของคณะศิษย์อเมริกาจัดสร้าง โดยใช้ลักษณะพิมพ์ทรงของพระกริ่งวัดบวรมาเป็นแบบ


การเตรียมชนวน

พระกริ่งปวเรศ ได้นำชนวนของพระกริ่งวิมุติธรรม มาเป็นชนวนหลัก แล้วได้ผสมโลหะทั้ง 9 เพื่อให้ได้เป็นนวะโลหะชั้นยอดเพิ่มเข้าไป ทำให้พระกริ่งรุ่นนี้ ดีทั้งนอก ดีทั้งใน

การหล่อ

พระกริ่งปวเรศ ได้ทำการหล่อในวันศุกร์ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 11 ธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นวันธงชัย

ส่วนการหล่อนั้นได้ทำการหล่อ แบบหล่อเหวี่ยงและได้ทำการปลอกผิวพระทุองค์


อธิษฐานจิตวาระที่ 1

พระกริ่งปวเรศหลวงปู่ท่านได้เมตตาอธิษฐานจิตในวันเสาร์ที่ 9 ม.ค. 2559

อธิษฐานจิตวาระที่ 2

พระกริ่งปวเรศไดรับการอธิษฐานจิตอีกวาระหนึ่งในวันพุธที่ 20 ม.ค. 2559

อธิษฐานจิตวาระที่ 3

พระกริ่งปวเรศได้รับการอธิษฐานจิตอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 8 ก.พ. 2559
ซึ่งตรงกับวันตรุษจีน

           

จำนวนการจัดสร้าง
  1. เนื้อทองคำ 3 องค์
  2. เนื้อเงินก้นเงิน 12 องค์
  3. เนื้อนวะก้นเงิน 24 องค์
  4. เนื้อเงินต้นแบบ 1 องค์



ปล. พระกริ่งปวเรศเป็นพระกริ่งที่ 2 ในชุดพระกริ่งไตรเทพต่อจากพระกริ่งวิมุติธรรมและได้อธิษฐานจิตพร้อมกับพระกริ่งวิมุติธรรม

พระกริ่งวิมุติธรรม


กริ่งวิมุติธรรม ได้ถอดพิมพ์มาจาก พระกริ่งจีนใหญ่สมัยราชวงศ์ถัง กรรมวิธีในการหล่อนั้นได้เทหล่อโบราณดินไทย(ดินขี้วัว) แบบกริ่งใน หรือที่เรียกว่า เทแบบชักกริ่งในตัว ส่วนใต้ฐานได้หล่อแบบก้นถ้วยในตัว เป็นวิธีหล่อโบราณที่ค่อนข้างยุ่งยาก ซึ่งในยุคสมัยนี้การเทหล่อแบบโบราณที่เทแบบชักกริ่งและก้นถ้วยในตัวนั้นแทบจะไม่มีให้เห็นอีกแล้ว

ส่วนชนวนมวลสารที่ได้นำมาผสมในเนื้อโลหะ นอกจากการได้ผสมเนื้อนวะโลหะชั้นยอดแล้วนั้น ยังได้นำแผ่นชนวนศักศิทธิ์คณาจารย์ต่างๆได้นำมาหลอมรวมกัน เพื่อให้พระกริ่งรุ่นนี้ ดีทั้งนอก ดีทั้งใน สมกับความตั้งใจของผู้สร้างเพื่อที่จะรังสรรค์ให้ดีที่สุด ให้เป็นยอดพระกริ่งแห่งองค์หลวงปู่

แล้วในองค์พระกริ่งยังได้บรรจุผงธูปเสกของพระอาจารย์มั่น ที่หลวงปู่ได้มอบให้มา เมื่อครั้งที่หลวงปู่ท่านได้ไปนำมาโดยองค์ท่านเองที่ภูหล่น พร้อมทั้งบรรจุเกษาและจีวรขององค์หลวงปู่แสง

พระกริ่งรุ่นนี้ไล่มาตั้งแต่เนื้อโลหะหล่อหลอมมาจากธาตุศักศิทธิ์มวลสารบรรจุสุดยอดของมงคล เมื่อโลหะธาตุศักศิทธิ์มารวมอยู่กับมวลสารมหามงคล แล้วได้รับการอธิษฐานจิตจากองค์หลวงปู่แสง จันดะโชโต ทำให้พระกริ่งรุ่นนี้เป็นพระกริ่งที่สุดจะเข้มขลังเป็นที่ปารถนาอีกหนึ่งรุ่น และจะต้องถูกจารึกเอาไว้เป็นตำนานและเป็นที่เสาะแสวงหาต่อไปในอนาคต

ส่วนชนวนมวลสารนั้นได้ใส่แผ่นจารมือคณาจารย์ต่างๆ ดังนี้

  1. แผ่นยันต์จารมือ อ.ฝั้น อาจาโร จ.สกลนคร
  2. แผ่นยันต์มหาอุดจารมือ หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป จ.สกลนคร
  3. แผ่นยันต์จารมือหลวงปู่สมหมาย
  4. แผ่นยันต์จารมือหลวงปู่บุญหนา
  5. แผ่นยันต์จารมือหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา
  6. แผ่นยันต์โภคทรัพย์จารมือหลวงปู่อุดม วัดพิชัยสงคราม จ.อยุธยา
  7. แผ่นยันต์จารมือหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยาว์
  8. แผ่นยันต์จารมือหลวงปู่เจริญ ญาณวุทโธ วัดถ้ำปากเปียง จ.เชียงใหม่
  9. แผ่นยันต์กระบองไขว้หลวงพ่อสายัญ วัดไผ่ล้อม
  10. แผ่นยันต์แก้วสารพัดนึกหลวงพ่อสายัญ วัดไผ่ล้อม


วาระที่ 1 รวมแผ่นยันต์

ในวันพุธที่ 25 พ.ย. 2558 ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ได้นำแผ่นยันต์จารมือทั้งหมดไปขอความเมตตาให้หลวงปู่ท่านอธิษฐานจิต หลวงปู่ท่านได้นำเอาแผ่นยันต์ทั้งหมดมาถือไว้ในมือ แล้วใช้มือทั้งสองข้างจับแผ่นยันต์แล้วหมุนแผ่นยันต์ เป็นการรวมแผ่นยันต์คณาจารย์ทั้งหมดไว้เป็นหนึ่งเดียว แผ่นยันต์จากหลายคณาจารย์มีทั้ง ยันต์มหาลาภ ยันต์มหาอุด ยันต์เมตตามหานิยม ยันต์แคล้วคาด ยันต์โภคทรัพย์ ทำให้พระกริ่งชุดนี้มีดีครบทุกด้าน พุทธคุณครอบจักรวาลหลังจากนั้นหลวงปู่ท่านก็ได้เมตตาอธิษฐานจิตแผ่นยันต์ทั้งหมดอีกที นับว่า เป็นความเมตตาจากองค์หลวงปู่แสงอย่างหาประมาณไม่ได้

วาระที่ 2 อธิษฐานจิต ครั้งที่ 1

กริ่งวิมุติธรรมหลวงปู่ท่านได้เมตตาอธิษฐานจิตในวันเสาร์ที่ 9 ม.ค. 2559 ในเวลาประมาณบ่ายโมงตรง โดยหลวงปู่ท่านได้เป่าแล้วทั้งยังใช้มือตบพระชุดนี้ให้แน่นๆยิ่งขึ้นไปอีก

วาระที่ 3 อธิษฐานจิต ครั้งที่ 2

พระกริ่งวิมุติธรรมได้เข้ารับการอธิษฐานจิตอีกครั้งหนึ่ง โดยได้รับความเมตตาจากองค์หลวงปู่แสงในการอธิษฐานจิตในวันพุธที่ 20 ม.ค. 2559 ในเวลาบ่ายสองโมงโดยประมาณ

วาระที่ 4 อธิษฐานจิตครั้งที่ 3

พระกริ่งวิมุติธรรมได้รับความเมตตาอธิษฐานจิตจากองค์หลวงปู่แสงอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 8 ก.พ. 2559 ซึ่งในวันนี้ได้ตรงกับวันตรุษจีน ในเวลาประมาณบ่ายโมงครึ่ง

พระกริ่งรุ่นนี้ได้รับความเมตตาอธิษฐานจิตถึง 3 ครั้ง รวมทั้งที่หลวงปู่ท่านได้รวมแผ่นยันต์และอธิษฐานจิตให้อีกครั้ง รวมแล้วเป็น 4 ครั้ง

นับว่าพระกริ่งวิมุติธรรมนี้ ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่ในการอธิษฐานจิตเป็นอย่างมาก ได้รับการอธิษฐานจิต 4 ครั้ง 4 วาระ พุทธคุณ อิทธิคุณของพระกริ่งรุ่นนี้ครบทุกด้านครอบจักรวาล

พระกริ่งวิมุติธรรมนี้ ได้ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างในวันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2558 จัดสร้างโดยคณะศิษย์อเมริกา

จำนวนการสร้าง

  1. เนื้อทองคำ 9 องค์
  2. เนื้อนวะโลหะกรรมการ 13 องค์
  3. เนื้อนวะโลหะผิวไฟ 36 องค์
  4. องค์ต้นแบบเนื้อเงินก้นตัน 1 องค์

ปล. เฉพาะเนื้อทองคำได้ทำการหล่อแบบเหวี่ยง แล้วปิดก้นด้วยแผ่นทองคำ และเป็นพระกริ่งรุ่นที่ 1 ในชุดพระกริ่งไตรเทพ