พระกริ่งอรหัง

พระกริ่งอรหัง หลวงปู่แสง จันดะโชโต ขออนุญาตจัดสร้างโดยคณะศิษย์จากอเมริกา เป็นกริ่งที่ 3 ตามความตั้งใจของผู้สร้าง ที่ต้องการจะจัดสร้างพระกริ่งให้ครบ 3 รุ่น มี (พระกริ่งวิมุติธรรม) (พระกริ่งปวเรศ) และสุดท้ายคือ (พระกริ่ง อรหัง)

และพระกริ่งอรหังนี้ ได้ใช้กรรมวิธีการเทหล่อโบราณดินไทย แบบชักกริ่งในตัว ยกเว้น เนื้อทองคำเท่านั้นที่ใช้การหล่อแบบเหวี่ยง

ที่สุดแห่งชนวนมวลสาร เป็นการรวบรวมชนวนมวลสารมากที่สุดเท่าที่มีมา ได้รับความเมตตาจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่ได้มอบชนวนสำคัญๆ นำมาหลอมรวมในพระกริ่งชุดนี้ ให้สมดั่งฉายาว่า “พระกริ่งอรหัง หลวงปู่แสง จันดะโชโต”

ชนวนมวลสารแบ่งเป็น “ชนวนใน” หมายถึงชนวนเฉพาะของหลวงปู่ และ “ชนวนนอก” หมายถึงชนวนสำคัญๆ ของครูอาจารย์ทั้งเก่าและใหม่ทั่วประเทศ

ชนวนใน

  1. ชนวนพระกริ่งล่ำซำ
  2. ชนวนรูปหล่อปาฏิหาริย์
  3. ชนวนเหรียญหล่อแสงจันทร์
  4. ชนวนพระกริ่งกันจิต
  5. ชนวนพระกริ่งวิมุติธรรม
  6. ชนวนรูปหล่อกัมมัฏฐาน
  7. ชนวนเหรียญจอบกัมมัฏฐาน
  8. ชนวนพระกริ่งปวเรศ

ชนวนนอก

1. ชนวนรวมเหรียญหล่อชนะมาร ของอาจารย์สุธันต์ สุนทรเสวี

2. ชนวนพระบูชาหลวงพ่อดำ วัดสุทัศน์

3. ชนวนพระกริ่งมหายันต์ วัดสุทัศน์

4. ชนวนพระกริ่งเฉลิมพระเกียรติ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงปู่โต๊ะ เททองเป็นรุ่นสุดท้าย

5. ชนวนพุทธชินราชอินโด วัดสุทัศน์ 2484 6. ชนวนรวมวัดบวรนิเวศ

7. ชนวนพระพุทธ 25 ศตวรรษ

8. ชนวนหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม

9. ชนวนหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม

10. ชนวนหลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน

11. ชนวนหลวงพ่อเพิ่ม วัดแค

12. ชนวนหลวงปู่เปรื่อง วัดสันติวัฒนา

13. ชนวนและแผ่นจาร หลวงพ่อสิริ วัดตาล

14. ชนวนพระกริ่งหลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ

15. ชนวนพระกริ่ง หลวงปู่สมหมาย วัดป่าอนาลโย

16. ชนวนพระหลวงปู่จื่อ วัดเขาตาเงาะ

17. ชนวนรวมของ อาจารย์ชุม ไชยคีรี

18. ชนวนพระกริ่งไชยสีหนาท ของอาจารย์สุรสี ไชยสีหนาท

19. ชนวนรวมของหลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน


ทางผู้สร้างต้องขอขอบคุณผู้หลักผู้ใหญ่ ที่ได้มอบชนวนสำคัญๆนำมาหลอมพระกริ่งอรหัง เพื่อให้พระกริ่งรุ่นนี้ดีทั้งนอกดีทั้งใน

วันอธิษฐานจิต

พระกริ่งอรหังชุดนี้ ได้รับความเมตตาจากองค์หลวงปู่แสง ได้อธิษฐานจิตให้ในวันอังคารที่ 21 มิ.ย. 2559


จำนวนการจัดสร้าง

  1. เนื้อทองคำ 13 องค์
  2. เนื้อเงินหมุดทองคำ. 21 องค์
  3. เนื้อทองสำริดหมุดเงิน 65 องค์

พระกริ่งอรหัง คงความเป็นการหล่อโบราณมากที่สุด หลังจากทุบเบ้าเสร็จแล้ว ไม่ได้ทำการตกแต่งผิว เพียงแค่ล้างน้ำแล้วเก็บรอยฉลาบที่เป็นส่วนเกินเท่านั้น ไม่มีการอุดแต่งใดนอกจากอุดรอยตะปูตรงเข้าเม็ดกริ่งเท่านั้น ทำให้พระกริ่ง “อรหัง” นี้ มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีความลงตัวในรูปแบบ ให้สมกับคำว่า ” กริ่งอรหัง ของพระอรหันต์ “

ปล. พระกริ่งอรหังเป็นพระกริ่งที่ 3 เป็นพระกริ่งสุดท้ายของชุด พระกริ่งไตรเทพ เป็นพระกริ่ง ที่ถ่ายทอดศิลปะการหล่อแบบโบราณที่ลงตัวอีกรุ่นหนึ่ง เป็นพระกริ่งที่ได้ผสมชนวนมวลสารอย่างเข้มขลัง ทำให้ชุดพระกริ่งไตรเทพเป็นชุดพระกริ่งที่ยอดเยี่ยมอีกชุดหนึ่ง