บทนำ “เหรียญหล่อแสงจันทร์มรดกลูกหลาน”
นับจากที่หลวงปู่ท่านได้มีดำรีให้มีการจัดสร้าง และเททองภายในวัด ที่สำนักสงฆ์บ้านเวินชัยเมื่อปี 2556 คือ รุ่น “ปาฏิหาริย์” แล้วท่านได้กล่าวไว้ว่า
“ครั้งนี้เป็นครั้งแรก และจะเป็นครั้งสุดท้าย ไม่ว่าชาติไหนๆ อาตมาก็ไม่เคยทำมาก่อน อาตมาตั้งใจจะทำไว้ให้เป็นมรดของลูกศิษย์ลูกหา”
นับจากนั้นผ่านมาประมาณ 1 ปีกว่า ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงปู่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว จนหลวงปู่ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดป่าดงสว่างธรรม อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ยิ่งทำให้ลูกศิษย์ของหลวงปู่เพิ่มขึ้นอีกเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ คหบดี และญาติโยม ไม่ว่าจะเป็นทางใกล้หรือทางไกลทั้งในและต่างประเทศ
ในเมื่อลูกศิษย์หลวงปู่เพิ่มมากขึ้น ต่างคนก็ได้ต่างพูดถึงวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ที่ผ่านมา โดยเฉพาะรุ่นปาฏิหาริย์ บางคนบอกเสียดายมาไม่ทันบ้าง มาช้าบ้าง
ด้วยวาระจิตของหลวงปู่ท่านคงรับรู้และด้วยความเมตตาขององค์ท่าน ท่านจึงมีดำริให้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น และเททองที่วัดเหมือนดั่งเช่นรุ่นปาฏิหาริย์เกือบจะทุกประการ
หลวงปู่ท่านได้มีดำริให้คณะศิษย์ล่ำซำ เป็นแม่งานในการดำเนินงานจัดสร้างในครั้งนี้เหมือนดั่งเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา หลวงปู่ท่านได้กล่าวไว้ว่า “มรดกสุดท้ายของอาตมาจะมอบให้ลูกหลาน”
ดังนั้นทางศิษย์ล่ำซำจึงได้ดำเนินงานติดต่อโรงหล่อ โดยได้โรงหล่อที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นมืออาชีพและอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศ
เมื่อทางคณะศิษย์ล่ำซำกับทางโรงหล่อได้กำหนดวันเททองหล่อพระคร่าวๆ โดยกำหนดไว้คือ วันอาทิตย์ที่ 17 ส.ค. 2557 แต่สามารถเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้ไม่เกิน 10 วัน พอเริ่มเข้าต้นเดือน ส.ค. ทางโรงหล่อยืนยันมาว่า ใช้กำหนดวันเดิมแน่ชัด ทางคณะศิษย์ล่ำซำจึงนำวันที่เททองนี้ไปกราบเรียนหลวงปู่ และหลวงปู่ท่านได้กล่าวมาว่า
“ทำไมต้องเป็นวันที่ 17 ลงใจที่จะทำกันในวันนี้มีเหตุผลอะไร ต้องดูท่าทีของฝนฟ้าอากาศด้วย เทวดาอาตมาก็ยังไม่ได้ขอเลย”
ทางศิษย์จึงกราบเรียนหลวงปู่ว่า “ไม่มีเหตุผลอะไรครับ เพียงแต่เริ่มต้นได้กำหนดวันคร่าวๆ ไว้แค่นั้นเองครับ หลวงปู่กำหนดวันเททองวันไหนก็ได้ครับ แล้วแต่หลวงปู่จะเห็นควร”
หลวงปู่ท่านก็กล่าวขึ้นมาอีกว่า “ถ้างั้นก็เอาวันเดิมนี่ล่ะ”
เมื่อใกล้ถึงวันที่จะเททองหล่อพระ 2 วัน ด้วยความบังเอิญหรืออะไรไม่ทราบได้ ทำให้ได้ไปเห็นใบสูจิบัตรหลวงปู่ จึงได้รู้ว่า แท้จริงแล้วหลวงปู่ท่านได้เกิดวันที่ 17 ส.ค. นี่เอง
จึงได้ไปกราบเรียนหลวงปู่ว่า วันที่เททองได้ตรงกับวันเกิดหลวงปู่พอดีครับ หลวงปู่ท่านได้ยิ้มแบบเมตตาอย่างมาก แล้วท่านก็ได้เอ่ยว่า “มันเป็นความบังเอิญ” ท่านพูดไปก็ยิ้มไป ส่วนตัวอยู่กับหลวงปู่มาไม่มีคำว่าบังเอิญแน่นอน
ทำให้เหรียญหล่อแสงจันทร์นี้มีความพิเศษเป็นอย่างมาก ที่ได้วันเททองหล่อพระตรงกับวันเกิดหลวงปู่อีกด้วย
ปล. โดยปกติแล้ววันเกิดหลวงปู่ กลุ่มลูกศิษย์จะยึดถือเอาวันที่ 1 ก.ย. ของทุกปีเป็นวันเกิดของหลวงปู่ เหตุเพราะไม่มีใครรู้แน่ชัดว่า วันที่หลวงปู่เกิดจริงๆ เป็นวันที่เท่าไหร่
เพราะหลวงปู่ท่านจะไม่ยึดติดกับอะไร และเวลาที่ไปถามท่านเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของท่าน ท่านก็สอนอยู่เสมอว่า “อย่าไปอยากรู้เรื่องของคนอื่นเขาเลย ให้รู้จิตรู้ใจของเราก็พอ”
เหรียญหล่อแสงจันทร์ (หลวงปู่เททอง)
หลวงปู่ได้ทำพิธีเททองหล่อพระในวันอาทิตย์ที่ 17 ส.ค. 2557 และยังตรงกับวันเกิดหลวงปู่อีกด้วย
จำนวนการจัดสร้างมีดังนี้
องค์ต้นแบบ
- พระกริ่งเนื้อเงินก้นทองคำ จำนวน 1 องค์
- เหรียญหล่อพิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อเงิน จำนวน 1 องค์
- เหรียญหล่อรูปไข่เนื้อเงิน จำนวน 1 องค์
ชุดกรรมการ (ลองพิมพ์)
- พระกริ่งเนื้อทองแดงก้นทองคำ จำนวน 4 องค์
- เหรียญหล่อแสงจันทร์พิมพ์รูปไข่เนื้อทองคำ จำนวน 1 องค์
- เหรียญหล่อแสงจันทร์พิมพ์รูปไข่เนื้อเงิน จำนวน 1 องค์
- เหรียญหล่อแสงจันทร์พิมพ์รูปไข่เนื้อทองแดง จำนวน 13 องค์
- เหรียญหล่อแสงจันทร์พิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อทองคำ จำนวน 1 องค์
- เหรียญหล่อแสงจันทร์พิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อเงิน จำนวน 1 องค์
- เหรียญหล่อแสงจันทร์พิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อทองแดง จำนวน 14 องค์
- เหรียญหล่อแสงจันทร์พิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อทองแดง (ตอก999) จำนวน 1 องค์
ปล. พระชุดกรรมการหรือลองพิมพ์ ได้ทำการเทที่โรงงานทุกองค์ และตอกโค๊ตคำว่า กรรมการ กำกับไว้
พระพุทธเทนำฤกษ์
- พระพุทธพิมพ์พระใสปิดทองขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว จำนวน 1 องค์
- พระกริ่งแสงจันทร์นำฤกษ์เนื้อเงินก้นทองคำ จำนวน 55 องค์
- พระกริ่งแสงจันทร์นำฤกษ์เนื้อเงินก้นเงิน จำนวน 44 องค์
พระพุทธเทในฤกษ์พิธี
- พระกริ่งแสงจันทร์ช่อบูชาเนื้อทองแดง จำนวน 2 ช่อ
- พระกริ่งแสงจันทรเนื้อทองแดงก้นทองแดง จำนวน 28 องค์
พระรูปเหมือนพระบูชา
- พระรูปเหมือนหลวงปู่องค์ใหญ่ปิดทองคำขนาดหน้าตัก 35 นิ้ว จำนวน 1 องค์
- พระบูชาเนื้อสำริดขนาดหน้าตัก 7 นิ้ว จำนวน 79 องค์
- พระบูชาเนื้อทองเหลืองขนาดหน้าตัก 7 นิ้ว จำนวน 129 องค์
เหรียญหล่อแสงจันทร์ (พิมพ์รูปไข่)
- เหรียญหล่อแสงจันทร์เนื้อทองคำ จำนวน 57 องค์
- เหรียญหล่อแสงจันทร์เนื้อเงิน จำนวน 181 องค์
- เหรียญหล่อแสงจันทร์เนื้อนวะ จำนวน 151 องค์
- เหรียญหล่อแสงจันทร์เนื้อทองเหลือง จำนวน 7,324 องค์
เหรียญหล่อแสงจันทร์ (พิมพ์สี่เหลี่ยม)
- เหรียญหล่อแสงจันทร์เนื้อทองคำ จำนวน 17 องค์
- เหรียญหล่อแสงจันทร์เนื้อรวม 3 พิธีเททอง จำนวน 175 องค์
พระกริ่งนำฤกษ์ เป็นการเทฤกษ์นำพิธี หลวงปู่ท่านได้ถือสายสิณจน์ที่ล้อมไปในปรัมพิธี แล้วหย่อนทองคำและเงินลงเบ้า
หลวงปู่ท่านเริ่มสวดนำคาถา ขณะเดียวกับช่างก็ได้หลอมชนวนเนื้อเงินและเทพระกริ่งควบคู่กับเสียงสวดมนต์ของญาติโยมดังก้องกระหึ่มวัด
เมื่อหล่อเสร็จแล้วช่างได้ทุบเบ้าพระกริ่งนำฤกษ์ทันที พร้อมกับญาติโยมทั้งหมดหลายพันคน พร้อมใจกันเปล่งเสียง สาธุ สาธุ สาธุ ดังก้องกังวานไปทั่วบริเวณ
นับว่าพระนำฤกษ์นี้ มีความสำคัญยิ่ง หลวงปู่ท่านถึงกับเอ่ยว่า “ไม่ว่าจะทำการใดก็แล้วแต่ ถ้าใช้พระพุทธนำ จะนำมาซึ่งความสำเร็จและความสุขทุกประการ”
ซึ่งก็เป็นจริงอย่างที่หลวงปู่ท่านกล่าวไว้ งานเททองหล่อพระไม่มีซึ่งอุปสรรคใดๆ เลย จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์
พระพิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อพิเศษ หรือ เนื้อ 3 พิธี ที่หลวงปู่ท่านได้เททอง ได้นำเนื้อทั้ง 3 พิธีนี้ มาหล่อหลอมรวมกันตามน้ำหนักเนื้อที่มีอยู่ทั้งหมด จนได้จำนวน 175 องค์
พิธีเททองครั้งที่ 1 ชนวนพระกริ่งล่ำซำเนื้อนวะ หลวงปู่เททองเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ที่วัดป่ามโนรมณ์สมประสงค์ (ภูทิดสา)
พิธีเททองครั้งที่ 2 ชนวนรูปหล่อปาฏิหาริย์เนื้อขันลงหินและเนื้อเงิน หลวงปู่เททองเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556 ที่สำนักสงค์บ้านเวินชัย
พิธีเททองครั้งที่ 3 (ครั้งล่าสุด) ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ที่วัดป่าดงสว่างธรรม จ.ยโสธร
ซึ่งหลังจากหลวงปู่ท่านได้เททองแล้ว ช่างได้ทำการหล่อเนื้อนวะ และเมื่อตัดเหรียญออกจากช่อแล้ว ได้นำต้นที่เป็นเนื้อนวะนั้น กลับมาใส่เบ้าหล่อหลอมรวมกันกับชนวนพระกริ่งล่ำซำ และชนวนรูปหล่อปาฏิหาริย์นี้เท่านั้น
โดยไม่มีการเจือเนื้ออื่นใดผสมเพิ่มเข้าไปเลย ทำให้ได้สุดยอดชนวนมวลสารที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง
จึงหมายความว่า หลวงปู่ท่านได้ทำพิธีเททองทั้งหมด 3 ครั้ง จาก 3 วัด และนับเป็นเวลาได้ 3 ปี ซึ่งเป็นสุดยอดชนวนพิธีแล้วจึงนำมาหล่อหลอมรวมกันเป็นหนึ่ง
นับว่าเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกกับสุดยอดเนื้อชนวนมหามงคลอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง…
หมายเหตุ
- พระชุดแสงจันทร์ได้ทำการเทที่วัดทั้งหมด รวมถึงวัตถุมงคลขนาดห้อยคอ ได้ทำการเทหล่อและขัดแต่งในวัด
- พระกริ่งนำฤกษ์ เป็นพระกริ่งที่หลวงปู่ท่านได้เมตตาอธิษฐานจิตให้ตั้งแต่โลหะยังหลอมเหลว ไปจนเทเสร็จเป็นรูปองค์พระกริ่งเลยทีเดียว และเป็นที่น่าอัศจรรย์ เมื่อเทพระกริ่งจำนวน 100 องค์ แต่ได้ 99 องค์ ซึ่งเสียไปเพียงแค่องค์เดียว นับว่าน้อยมากๆ
- เหรียญหล่อพิมพ์สี่เหลี่ยมเนื้อ 3 พิธี เป็นเนื้อที่หลวงปู่ท่านได้เททองมาทั้งหมด 3 พิธี แล้วนำชนวนที่เหลือแต่ละพิธี นำมาหล่อหลอมอยู่องค์เดียว โดยไม่มีการผสมเพิ่มเนื้ออื่นใดลงไปเลย
- วันที่เททอง คือวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ได้ตรงกับวันคล้ายวันเกิดของหลวงปู่ด้วย
- ”ชนวนที่เหลือทั้งหมด ได้นำไปทำเหรียญกลับมาอีก” คือ ก้านชนวนในพิธีทีเหลือทั้งหมดนั้น ได้นำไปสร้างวัตถุมงคลอีก 2 รุ่น ตามดำหริของหลวงปู่ นั่นคือ รูปหล่อแสงจันทร์ และ เหรียญมหาลาโภ สองรุ่นนี้เท่านั้น