รูปหล่อสุขาวดี (ฉลองเจดีย์)

บ่ายวันอังคารที่ 4 ก.ค. 2560 หลวงปู่แสงท่านได้มีดำริว่า ให้ไปทำเหรียญมาเพื่อการฉลองเจดีย์ หลวงปู่ท่านย้ำว่า ทำเหรียญให้เสร็จก่อนที่เจดีย์จะบูรณะเสร็จ ซึ่งหลวงปู่ท่านได้เน้นย้ำเรื่องฉลองเจดีย์และวัตถุมงคลรุ่นนี้เป็นอย่างมาก

ในการทำพระชุดฉลองเจดีย์ได้ทำขึ้นมาเป็น 2 แบบพิมพ์ คือ พระกริ่ง และ รูปหล่อ โดยใช้กรรมวิธี แบบงานหล่อ (พระกริ่งดูในหัวข้อ พระกริ่งสุขาวดี)

อมตะวาจา

ในบ่าย วันพุธที่ 14 ก.ค. 2560 หลวงปู่ท่านได้กล่าวว่า ” โลกใบนี้ก็มีคุณกับอาตมา อาตมาก็จะตอบแทนคุณโลกใบนี้ อาตมาจะทำเหรียญชุดนี้ให้โดยไม่มีข้อแม้ใดๆทั้งสิ้น เพื่อทิ้งไว้ให้เป็นสมบัติของโลก “

หุ่นพิมพ์ต้นแบบ

งานปั้นหุ่นต้นแบบนั้น ได้ใช้ศิลปะงานปั้นแบบหัวโต คือรูปของศรีษะจะมีขนาดใหญ่กว่าความเป็นจริง งานปั้นแบบนี้จะเป็นงานปั้นที่ช่างสมัยก่อนจะนิยมปั้นเป็นอย่างมาก หรือที่เรียกกันว่า ศิลปะงานปั้นแบบโบราณ

กรรมวิธีการหล่อ

รูปหล่อสุขาวดีได้ใช้กรรมวิธีการหล่อทั้งสองแบบ โดยการหล่อแบบวิธีหล่อเหวี่ยง ได้ใช้หล่อกับเนื้อทองคำ และ เนื้อขันลงหิน

ส่วนการหล่อโบราณแบบเทดินไทย(ดินขี้วัว) ได้ใช้หล่อกับ เนื้อเงิน เนื้อนวะโลหะและเนื้อสำริด ในส่วนเนื้อสำริดนั้น ลักษณะผิวพระจะไม่เรียบตึงเนื่องจากได้ผสมแร่และชนวนเก่าเป็นจำนวนมาก ส่วนวรรณะจะคล้ายกับเนื้อนาก

ขนาดขององค์พระ

รูปหล่อที่ใช้กรรมวิธีหล่อโบราณดินไทย(ดินขี้วัว) จะมีขนาดใหญ่กว่าแบบเหวี่ยง เนื่องจากการเทดินไทยนั้นเมื่อโลหะแข็งตัวแล้ว โลหะจะหดตัวลงน้อยมาก หรือแทบจะไม่หดตัวเลย

วันอธิษฐานจิต

รูปหล่อสุขาวดีได้นำไปให้หลวงปู่แสงท่านเมตตาอธิษฐานจิตให้ในวันศุกร์ที่ 18 ส.ค. 2560 ก่อนวันงานฉลองเจดีย์ 1 วัน หลวงปู่ท่านได้หยิบพระกริ่งสุขาวดีเนื้อเงินที่เป็นองค์ต้นแบบขึ้นมา

แล้วหลวงปู่ท่านได้เพ่งผ่านพระกริ่งที่ท่านถืออยู่ ครั้งนี้เป็นการอธิษฐานจิตที่แตกต่างกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา

คงเป็นดั่งที่หลวงปู่ท่านได้กล่าวว่า ” อาตมาจะทำให้โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ทั้งสิ้น ”

พระชุดสุขาวดี นับได้ว่าเป็นชุดที่หลวงปู่ท่านได้เปิดเต็มให้ครบทุกด้าน หลวงปู่ท่านทำเพื่อตอบแทนโลกใบนี้ที่มีบุญคุณกับท่านและทิ้งไว้ให้เป็นสมบัติอยู่คู่โลก

จำนวนการจัดสร้าง (แบบหลังยันต์)

  1. เนื้อทองคำหลังยนต์ 1 องค์
  2. เนื้อขันลงหินหลังยันต์ 2375 องค์
  3. เนื้อเงินต้นแบบหลังยันต์ 1 องค์

จำนวนจัดสร้าง (แบบหลังไม่มียันต์)

  1. เนื้อทองคำ 15 องค์
  2. เนื้อขันลงหิน 12 องค์
  3. เนื้อนวะ 40 องค์
  4. เนื้อเงิน 41 องค์
  5. เนื้อสำริด 87 องค์